หน้าแรก แหล่งโบราณคดี ถ้ำผีแมนโลงลงรัก

ถ้ำผีแมนโลงลงรัก

ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พิกัด 19.558510 N, 98.276406 E
อายุสมัย ระหว่าง 1,960 ถึง 1,636 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ โลงไม้ จังหวัดแม่่ฮ่องสอน ถ้ำผีแมน
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

375

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

20 ก.พ. 2566

ถ้ำผีแมนโลงลงรัก

team
  • โลงไม้ภายในถ้ำผีแมนโลงลงรัก
ชื่อแหล่ง : ถ้ำผีแมนโลงลงรัก
ที่ตั้ง : หมู่ที่ 1 ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พิกัด : 19.558510 N, 98.276406 E
อายุสมัย : ระหว่าง 1,960 ถึง 1,636 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ :
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : โลงไม้ จังหวัดแม่่ฮ่องสอน ถ้ำผีแมน
ยุคสมัย : ยุคเหล็ก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 20 ก.พ. 2566

- ค.ศ.2010 (พ.ศ.2553): ได้มีการสำรวจ และทำแผนผังของถ้ำผีแมนโลงลงรัก

 

- ค.ศ.2013-2016 (พ.ศ.2556-2559): เกิดโครงการ "การปฎิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน" และได้เริ่มการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำผีแมนโลงลงรักคูหา A1 และ A2

 

- ค.ศ.2017-2019 (พ.ศ.2560-2562): ทีมวิจัยด้านโบราณคดีได้สำรวจ ทำแผนผัง รวบรวม และวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีจากคูหา B และ C 

ถ้ำผีแมนโลงลงรักมีลักษณะเป็นหลุมยุบ (Sinkhole) เป็นรูปแบบของถ้ำที่เกิดจากการพังทลายลงเป็นหลุม เกิดจากองค์ประกอบของถ้ำที่เป็นแร่ธาตุจำพวกหินปูน หรือเกลือ ซึ่งเกิดจากการไหลเวียนของน้ำใต้ดินจนส่งผลให้แร่ธาตุดังกล่าวละลายและเกิดเป็นหลุมขึ้น

 

ปากถ้ำของถ้ำผีแมนห่างจากพื้นถ้ำประมาณ 15 เมตร มีคูหาซับซ้อนแบ่งได้เป็น 3 คูหาใหญ่ถูกเรียกด้วยชื่อ A, B และ C โดยคูหาAสามารถแบ่งย่อยได้เป็น A1 และA2 สำหรับโลงไม้ที่พบภายในถ้ำผีแมนโลงลงรักทั้ง 3 คูหานั้นมีจำนวนทั้งสิ้น 62 ฝา หรือประมาณ 31 โลง สามารถจำแนกรูปแบบได้ 47 ฝาโลง อีก 16 ฝาโลงไม่สามารถจำแนกรูปแบบได้ เนื่องจากสภาพผุพังมากเกินไป การจัดแบ่งนั้นสามารถจัดได้ 9 รูปแบบ นอกจากรูปแบบของโลงไม้ที่พบแล้วนั้น ภายในถ้ำผีแมนโลงลงรักยังมีรูปแบบการวางโลงไม้ที่แตกต่างกัน มีทั้งวางบนเสา-คาน คานติดพื้น วางบนคานพาดกับชะง่อนหิน และพื้นถ้ำ นอกจากนี้หลักฐานทางโบราณคดีที่พบยังมีทั้ง เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินลายเชือกทาบ เครื่องไม้ ภาชนะไม้ลงรัก กระดูกมนุษย์ ลูกปัด เครื่องจักสาน กระดูกสัตว์ เส้นสีดำ(?) เมล็ดพืช และเครื่องประดับโลหะ 

ไม่เปิดให้เข้าชม

รัศมี ชูทรงเดช. โบราณคดีก่อนไท(ย)บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. แม่ฮ่องสอน : โครงการมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า. 2563.

 

รัศมี ชูทรงเดช. วัฒนธรรมโลงไม้ไทยในบริบทอาเซียน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.