หน้าแรก แหล่งโบราณคดี ภูพระบาท

ภูพระบาท

ที่ตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี
พิกัด 17.730 N, 102.357 E
อายุสมัย ระหว่าง 3,000 ถึง 1,000 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ จังหวัดอุดรธานี ศิลปะบนหิน ศิลปะถ้ำ cave art rock art
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

158

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

20 ก.พ. 2566

ภูพระบาท

team
  • หอนางอุสา ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
ชื่อแหล่ง : ภูพระบาท
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี
พิกัด : 17.730 N, 102.357 E
อายุสมัย : ระหว่าง 3,000 ถึง 1,000 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ :
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : จังหวัดอุดรธานี ศิลปะบนหิน ศิลปะถ้ำ cave art rock art
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ทวารวดี ยุคก่อนประวัติศาสตร์
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 20 ก.พ. 2566

- ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524): ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2524 

 

- ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547): ได้เสนอชื่อขึ้นสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเพื่อพิจารณาขึ้นเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

 

- ค.ศ.2016 (พ.ศ.2559): สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (Icomos) ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของใบเสมาหินกับศาสนาพุทธ สำหรับการพิจารณาเกณฑ์และขอบเขตการขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ของไทย

 

บทภูพระบาทพบก้อนหินขนาดใหญ่-เล็ก ที่เกิดจากกระบวนการกัดเซาะ และสึกกร่อนตามธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดหินรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่พบร่องรอยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยร่องรอยสำคัญที่พบคือ "ศิลปะบนหิน" (Rock Art) โดยพบกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ของภูพระบาท ซึ่งมักเขียนด้วยสีแดงเข้ม และสีขาวที่มีการสันนิษฐานว่าเป็นการวาดภาพในสมัยหลัง

 

นอกจากศิลปะบนหินที่พบแล้วนั้น ยังพบร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์ในสมัยประวัติศาสตร์ เช่น ร่องรอยการดัดแปลงเพิงหินทรายรูปทรงคล้ายหอคอยให้เป็นพื้นที่สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา การทำใบเสมาขนาดต่าง ๆ ล้อมรอบเพิงหินที่ถูกดัดแปลง รวมทั้งการแกะสลักประติมากรรมทางพุทธศาสนาในอริยาบทต่าง ๆ จึงมีข้อสันนิษฐานว่าถูกใช้พื้นที่ในช่วงของวัฒนธรรมทวารวรดี รวมพุทธศตวรรษที่ 14

เปิดบริการให้เข้าชุมทุกวันสามารถเดินทางไปใช้บริการโดย

- รถส่วนตัว

- รถโดยสารประจำทางจากตลาดรังษิณา รถสายอุดรธานี-บ้านผือ-น้ำโสม หรือสายอุดรธานี-นายูง โดยลงบริเวณบ้านติ้วและใช้บริการรถมอเตอร์ไซต์รับจ้างสำหรับเดินทางเข้าอุทยาน

- รถตู้โดยสารจากตลาดรังษิณา โดยลงบริเวณบ้านติ้วและใช้บริการรถมอเตอร์ไซต์รับจ้างสำหรับเดินทางเข้าอุทยาน

กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2561.