หน้าแรก แหล่งโบราณคดี ปากจั่น

ปากจั่น

ที่ตั้ง ม.11 บ้านปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง
พิกัด 10.525 N, 98.835 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 301 ถึง 700
แหล่งน้ำสำคัญ คลองปากจั่น, คลองหลีก, คลองจั่น
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ สุวรรณภูมิ ราชวงศ์ฮั่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียน เส้นทางข้ามคาบสมุทร ลูกปัดโรมัน จังหวัดระนอง
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

263

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

18 ก.พ. 2566

ปากจั่น

team
  • แหล่งโบราณคดีปากจั่น
ชื่อแหล่ง : ปากจั่น
ที่ตั้ง : ม.11 บ้านปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง
พิกัด : 10.525 N, 98.835 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 301 ถึง 700
แหล่งน้ำสำคัญ : คลองปากจั่น, คลองหลีก, คลองจั่น
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : สุวรรณภูมิ ราชวงศ์ฮั่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียน เส้นทางข้ามคาบสมุทร ลูกปัดโรมัน จังหวัดระนอง
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 18 ก.พ. 2566

- ค.ศ.2007 (พ.ศ. 2550): สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต (ในขณะนั้น) นำทีมโดย ร.อ.บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งโบราณคดี ในบริเวณหมู่ที่ 3,4,7,10 และ 11 พบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินมีค่า ทองคำ และเศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อดิน เนื้อแกร่ง และเครื่องถ้วยจีนรุ่นหลัง โดยพบหนาแน่นบริเวณ หมู่ 11 อีกทั้งบริเวณดังกล่าวยังพบคันดินสำหรับสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 

 

- ค.ศ.2010 (พ.ศ. 2553): สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต (ในขณะนั้น) ได้ทำการสำรวจพร้อมกับดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี จำนวน 2 หลุมขุดค้น เพื่อศึกษาหาอายุสมัยของแหล่งโบราณคดี 

 

- ค.ศ.2011 (พ.ศ. 2554): เชาวณา ไข่แก้ว เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “เส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยตอนบน” สำหรับเนื้อหาในการศึกษานั้นพื้นที่บริเวณปากจั่นรวมไปถึงแหล่งโบราณคดีปากจั่นนั้นเป็นเส้นทางหนึ่งในการข้ามคาบสมุทรจากฝั่งอันดามัน ไปสู่ฝั่งอ่าวไทยปลายทางบริเวณเขาสามแก้ว โดยเชาวณา ไข่แก้วได้ให้ความเห็นว่าเส้นทางดังกล่าวเริ่มใช้ในช่วงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์(พุทธศตวรรษที่ 5 – 11)

 

- ค.ศ.2020 (พ.ศ. 2563): ณัฐวิทย์ พิมพ์ทองเขียนบทความเรื่อง โบราณคดีภาคประชนชนบนเขาสามแก้ว-ปากจั่น ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 46 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มี.ค. 2563) หน้า 49 – 56  

เป็นแหล่งโบราณคดีที่สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางข้ามคาบสมุทรบริเวณจังหวัดระนอง-จังหวัดชุมพรในช่วงสมันประวัติศาสตร์ตอนต้น และหลักฐานหายไปในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 11 ก่อนจะพบร่องรอยของหลักฐานอีกครั้งในช่วงสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ โดยพบหลักฐานทางโบราณคดีเช่น เศษภาชนะดินเผาจำพวก เครื่องถ้วยจีน roulette ware และเครื่องถ้วยญี่ปุ่น ลูกปัดแก้วแบบอินโด-แปซิฟิค (Indo - pacific) ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยน ลูกปัดทองและเศษทอง เป็นต้น

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีบ้านปากจั่น. ภูเก็ต. สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต, 2550.

 

บุญยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ. รายงานการขุดค้นเบื้องต้นแหล่งโบราณคดีปากจั่น ต.ปากจั่น  อ.กระบุรี  จ.ระนอง ระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม  พ.ศ. 2553. ภูเก็ต: สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต, 2553.

 

เชาวณา ไข่แก้ว. “การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยตอนบน”. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2554

 

ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง. โบราณคดีภาคประชนชนบนเขาสามแก้ว-ปากจั่น. วารสารเมืองโบราณ 46(1), 49 – 56