หน้าแรก แหล่งโบราณคดี บ้านเชียง

บ้านเชียง

ที่ตั้ง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
พิกัด 17.41 N, 103.24 E
อายุสมัย ระหว่าง 4,000 ถึง 3,000 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ -
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี หลุมฝังศพ ภาชนะดินเผา วัฒนธรรมบ้านเชียง มรดกโลก

จำนวนผู้เข้าชม

731

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

6 ก.พ. 2566

บ้านเชียง

team
  • แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง หลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน
ชื่อแหล่ง : บ้านเชียง
ที่ตั้ง : อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
พิกัด : 17.41 N, 103.24 E
อายุสมัย : ระหว่าง 4,000 ถึง 3,000 ปีมาแล้ว
แหล่งน้ำสำคัญ : -
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี หลุมฝังศพ ภาชนะดินเผา วัฒนธรรมบ้านเชียง มรดกโลก
ยุคสมัย : ยุคเหล็ก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 6 ก.พ. 2566

- ค.ศ.1967(พ.ศ.2510) และค.ศ.1972(พ.ศ.2515): มีการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก และครั้งที่สองตามลำดับ

 

- ค.ศ.1974-1975 (พ.ศ.2517-2518): การขุดค้นครั้งสำคัญโดยเป็นการขุดค้นในโครงการร่วมกันของกรมศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย จากการขุดค้นครั้งดังกล่าวพบโครงกระดูกกว่า 130 โครง

 

- ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518): จากการขุดค้นในโครงการร่วมดังกล่าวจึงเกิดการตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงขึ้น

 

- ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535): ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก

- แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปีค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) ตามหลักเกณฑ์เรื่อง "เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว"

 

- การค้นพบภาชนะดินเผาที่มีการตกแต่งโดยการเขียนลายเส้นด้วยขีดสีแดงซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง

 

- หลักฐานทางโบราณคดีที่่เกี่ยวข้องกับโลหกรรม โดยพบการใช้สำริดของกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงตั้งแต่ราว 4,500 ปีมาแล้ว อาทิ เบ้าดินเผาสำหรับหลอมโลหะ ใบหอก หัวขวาน เป็นต้น

 

- หลุมฝังศพที่มีจำนวนโครงกระดูกนับร้อยรวมทั้งพบร่วมกับของอุทิศหลากหลายอย่างเช่น ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ แสดงถึงพิธีกรรมการฝังศพของคนในกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง

สามารถเดินทางจากอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีไปยังอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เพื่อเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง และหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีในได้

- นฤพล หวังธงชัยเจริญ. "การศึกษาลักษณะที่วัดได้ของกระดูกใต้กะโหลกศีรษะของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี" วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.

 

- ภูธร ภูมะธน. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง. กรุงเทพฯ: บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด, 2560.

 

- สุรพล นาถะพินธุ. มรดกโลกบ้านเชียง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2550.

 

- กรกฎ บุญลพ. "การวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียงจากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน จังหวัดสกลนคร" วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2546.

No Gallery