หน้าแรก วิดีโอ เมื่อรัชกาลที่ 1 ยกทัพตีทวาย ไทยได้หรือเสีย

เมื่อรัชกาลที่ 1 ยกทัพตีทวาย ไทยได้หรือเสีย

ผู้ผลิต ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง สมฤทธิ์ ลือชัย
เรื่องย่อ

[จากช่องประวัติศาสตร์นอกตำรา] ในทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ทั้งไทยและพม่าต่างผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทวาย นั่นเพราะทวายอยู่เหนือเมืองมะริดและตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญของอ่าวเบงกอล พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นชนวนสงครามระหว่าง 2ราชอาณาจักรเรื่อยมา ในคราวสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าบุเรงนองทรงได้เมืองทวาย มะริดและตะนาวศรีไปครอบครองได้สำเร็จ แต่ทว่าอีกกว่า 20 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงให้ยกทัพไปตีเมืองเหล่านี้กลับคืนมาได้ใน ปี พ.ศ. 2135 อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อเนื่องถึงการเสียกรุงครั้งที่ 2 อาณาจักรพม่าราชวงศ์คองบองก็สามารถยึดเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรีและชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดได้สำเร็จ ความพยายามเอาทวายมาเป็นของสยาม เริ่มต้นอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ยกทัพใหญ่ไปตีเมืองทวาย ในปี พ.ศ. 2330 เมื่อกองทัพกรุงเทพ ฯ มาถึงแม่น้ำแควน้อย และขึ้นบกที่เมืองท่าตะกั่ว เขต อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรีในปัจจุบัน ร.1ทรงยกทัพขึ้นไปด้านเหนือที่เรียกว่า “ช่องเขาสูง” ด้วยการตัดข้ามเขาบรรทัด แล้วตรงเข้าสู่เมืองทวาย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่กองทัพหลวงเลือกใช้ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความยากลำบาก เมื่อกองทัพกรุงเทพ ฯ ไปถึงเมืองทวาย กลับไม่เห็นกองทัพพม่าออกรักษาเชิงเทิน มีเพียงประตูเมืองที่ปิดอยู่ เกรงว่าหากจะยกเข้าไปในเมืองอาจเป็นกลลวงของพม่าได้ จึงตั้งค่ายรายล้อมเมืองไว้ การล้อมเมืองผ่านไปราวครึ่งเดือนโดยไม่มีการบุกโจมตีเมืองทวาย ขณะที่เสบียงอาหารเริ่มขัดสนมากขึ้น นี่เองคือสาเหตุของการเลิกทัพกลับกรุงเทพ ฯ ความพยายามที่ต้องการได้เมืองทวาย และหัวเมืองแถบทะเลอันดามันยังคงดำเนินต่อไป เมื่อไม่สามารถตีเมืองทวายได้ ร.1 จึงทรงมีพระราชสาส์นส่งไปยังจักรพรรดิ์จีน เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ....แต่กลับไม่เป็นผล ทวายยังคงขึ้นกับราชสำนักอังวะ ภายใต้การปกครองของมังจันจา ผู้ที่พระเจ้าปดุงทรงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองทวายก่อนหน้านี้ เมื่ออะแซหวุ่นกี้ อุปราชผู้ควบคุมหัวเมืองทางใต้ที่เมาะตะมะถึงแก่สัญกรรมลงในปี พ.ศ. ๒๓๓๓ มังจันจา เจ้าเมืองทวายก็ต้องผิดหวังที่ไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนี้แทน เพราะพระเจ้าปดุงทรงตั้งมังจะเลสู ลงมาเป็นอุปราชแทน นี่เองคือจุดเริ่มต้นทำให้มังจันจากระด้างกระเดื่องต่อราชสำนักอังวะ และชักชวนเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดให้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อ ร. 1 ใน ปี พ.ศ. ๒๓๓๔ แม้ราชสำนักกรุงเทพจะส่งกองทหารมารักษาเมืองทวายไว้ แต่ในที่สุดแล้ว อีกราวปีเศษ พ.ศ. ๒๓๓๖ พระเจ้าปดุงโปรดให้พระมหาอุปราชายกกองทัพใหญ่จำนวน ๕๐,๐๐๐ ลงมาตีเมืองทวาย จนกองทัพกรุงเทพ ฯ ต้องแตกพ่ายไป ทวายยังคงขึ้นอยู่กับพม่าจนกระทั่ง อังกฤษเข้ายึดดินแดนพม่าบางส่วนได้ในสงครามครั้งที่ 1 (First Anglo-Burmese War) ราชวงศ์คองบอง ยอมทำสนธิสัญญากับอังกฤษเพื่อมอบอำนาจเหนือดินแดนอัสสัม, มณีปุระ, ยะไข่ และตะนาวศรีให้แก่อังกฤษในปี 2369 อีก 42 ปีต่อมา ในปี 2411 ร. 4 ทรงทำข้อตกลงแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างอังกฤษกับสยาม ทำให้ทวาย มะริด และตะนาวศรีตกเป็นของอังกฤษอย่างสมบูรณ์

ความยาว 29:51 นาที
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ ทวาย ต้นรัตนโกสินทร์ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

จำนวนผู้เข้าชม

206

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

2 ม.ค. 2567

เมื่อรัชกาลที่ 1 ยกทัพตีทวาย ไทยได้หรือเสีย
ผู้ผลิต :
ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง :
สมฤทธิ์ ลือชัย
เรื่องย่อ :

[จากช่องประวัติศาสตร์นอกตำรา] ในทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ทั้งไทยและพม่าต่างผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทวาย นั่นเพราะทวายอยู่เหนือเมืองมะริดและตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญของอ่าวเบงกอล พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นชนวนสงครามระหว่าง 2ราชอาณาจักรเรื่อยมา ในคราวสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าบุเรงนองทรงได้เมืองทวาย มะริดและตะนาวศรีไปครอบครองได้สำเร็จ แต่ทว่าอีกกว่า 20 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงให้ยกทัพไปตีเมืองเหล่านี้กลับคืนมาได้ใน ปี พ.ศ. 2135 อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อเนื่องถึงการเสียกรุงครั้งที่ 2 อาณาจักรพม่าราชวงศ์คองบองก็สามารถยึดเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรีและชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดได้สำเร็จ ความพยายามเอาทวายมาเป็นของสยาม เริ่มต้นอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ยกทัพใหญ่ไปตีเมืองทวาย ในปี พ.ศ. 2330 เมื่อกองทัพกรุงเทพ ฯ มาถึงแม่น้ำแควน้อย และขึ้นบกที่เมืองท่าตะกั่ว เขต อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรีในปัจจุบัน ร.1ทรงยกทัพขึ้นไปด้านเหนือที่เรียกว่า “ช่องเขาสูง” ด้วยการตัดข้ามเขาบรรทัด แล้วตรงเข้าสู่เมืองทวาย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่กองทัพหลวงเลือกใช้ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความยากลำบาก เมื่อกองทัพกรุงเทพ ฯ ไปถึงเมืองทวาย กลับไม่เห็นกองทัพพม่าออกรักษาเชิงเทิน มีเพียงประตูเมืองที่ปิดอยู่ เกรงว่าหากจะยกเข้าไปในเมืองอาจเป็นกลลวงของพม่าได้ จึงตั้งค่ายรายล้อมเมืองไว้ การล้อมเมืองผ่านไปราวครึ่งเดือนโดยไม่มีการบุกโจมตีเมืองทวาย ขณะที่เสบียงอาหารเริ่มขัดสนมากขึ้น นี่เองคือสาเหตุของการเลิกทัพกลับกรุงเทพ ฯ ความพยายามที่ต้องการได้เมืองทวาย และหัวเมืองแถบทะเลอันดามันยังคงดำเนินต่อไป เมื่อไม่สามารถตีเมืองทวายได้ ร.1 จึงทรงมีพระราชสาส์นส่งไปยังจักรพรรดิ์จีน เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ....แต่กลับไม่เป็นผล ทวายยังคงขึ้นกับราชสำนักอังวะ ภายใต้การปกครองของมังจันจา ผู้ที่พระเจ้าปดุงทรงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองทวายก่อนหน้านี้ เมื่ออะแซหวุ่นกี้ อุปราชผู้ควบคุมหัวเมืองทางใต้ที่เมาะตะมะถึงแก่สัญกรรมลงในปี พ.ศ. ๒๓๓๓ มังจันจา เจ้าเมืองทวายก็ต้องผิดหวังที่ไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนี้แทน เพราะพระเจ้าปดุงทรงตั้งมังจะเลสู ลงมาเป็นอุปราชแทน นี่เองคือจุดเริ่มต้นทำให้มังจันจากระด้างกระเดื่องต่อราชสำนักอังวะ และชักชวนเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดให้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อ ร. 1 ใน ปี พ.ศ. ๒๓๓๔ แม้ราชสำนักกรุงเทพจะส่งกองทหารมารักษาเมืองทวายไว้ แต่ในที่สุดแล้ว อีกราวปีเศษ พ.ศ. ๒๓๓๖ พระเจ้าปดุงโปรดให้พระมหาอุปราชายกกองทัพใหญ่จำนวน ๕๐,๐๐๐ ลงมาตีเมืองทวาย จนกองทัพกรุงเทพ ฯ ต้องแตกพ่ายไป ทวายยังคงขึ้นอยู่กับพม่าจนกระทั่ง อังกฤษเข้ายึดดินแดนพม่าบางส่วนได้ในสงครามครั้งที่ 1 (First Anglo-Burmese War) ราชวงศ์คองบอง ยอมทำสนธิสัญญากับอังกฤษเพื่อมอบอำนาจเหนือดินแดนอัสสัม, มณีปุระ, ยะไข่ และตะนาวศรีให้แก่อังกฤษในปี 2369 อีก 42 ปีต่อมา ในปี 2411 ร. 4 ทรงทำข้อตกลงแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างอังกฤษกับสยาม ทำให้ทวาย มะริด และตะนาวศรีตกเป็นของอังกฤษอย่างสมบูรณ์



ความยาว (นาที:วินาที) :
29:51
เผยแพร่เมื่อ :
24 Dec 2023
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
ทวาย ต้นรัตนโกสินทร์ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
จำนวนผู้เข้าชม :
206
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
2 ม.ค. 2567


Videos Playlist
image
ซอฟต์พาวเวอร์ อารยธรรมโบราณ | Big Story เรื่องใหญ่ Thai PBS
ผู้ผลิต : Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง : อลงกรณ์ เหมือนดาว, สุรยุทธ นาซิน, ชญากานต์ อนุอัน, พงศ์พัชรา รุ่งเจริญคำนึงผล, พระโสภณพัฒนคุณ, ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์, ประอร ศิลาพันธุ์, บริสุทธิ์ บริพนธ์, ภีร์ เวณุนันทน์, อนุรักษ์ ดีพิมาย, นฤพล หวังธงชัยเจริญ, สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง, ผุสดี รอดเจริญ, กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์, ธนิก เลิศชาญฤทธิ์, ประพิศ พงศ์มาศ, รัศมี ชูทรงเดช, ชวลิต ขาวเขียว, เอนก เหล่าธรรมทัศน์
11 พ.ค. 2024
29:27 (นาที:วินาที)
image
Live : เสวนา “จากรอยลูกปัดสู่สุวรรณภูมิศึกษา: ผ่านลูกปัด จารึกและทอง”
ผู้ผลิต : Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม
วิทยากร/ผู้แสดง : ชวลิต ขาวเขียว, สาโรช รุจิรวรรธน์, บัญชา พงษ์พานิช, อุเทน วงศ์สถิตย์
12 ส.ค. 2022
1:43:56 (นาที:วินาที)
image
ไขปริศนาทวารวดี เมืองโบราณ 1,500 ปี ศรีมโหสถ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.228
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : ฉันทัส เพียรธรรม, ฉัตตริน เพียรธรรม
19 มี.ค. 2024
1:01:13 (นาที:วินาที)
image
ตามรอยพระนางจามเทวี ตอนที่ 3 (จบ) "ทวนพิงคนที สู่หริปุญชยะ" I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.186
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : เพ็ญสุภา สุขคตะ
1 เม.ย. 2023
1:14:19 (นาที:วินาที)
image
ตามรอยพระนางจามเทวี ตอนที่ 2 "จากเมืองพระบาง สู่เมืองสร้อย" I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.184
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : เพ็ญสุภา สุขคตะ
26 มี.ค. 2023
42:27 (นาที:วินาที)