หน้าแรก บทความ คติรูปพระสูรยะบนธรรมจักรในศิลปะทวารวดี

คติรูปพระสูรยะบนธรรมจักรในศิลปะทวารวดี

คติรูปพระสูรยะบนธรรมจักรในศิลปะทวารวดี

ชื่อผู้แต่ง ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน มกราคม
ปีที่ 3
ฉบับที่ 5
หน้าที่ 59 - 67
ภาษา ภาษาไทย
หัวเรื่อง -

เนื้อหาโดยย่อ

     ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้สันนิษฐานว่า รูปวงล้อศิลาเหล่านี้มีการค้นพบอยู่ใกล้กับประติมากรรมรูปกวางหมอบ จึงชวนให้นึกถึง "ธรรมจักร" ซึ่งพระพุทธองค์ทรงหมุน (คือสั่งสอน) เมื่อประทานปฐมเทศนา "ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร" ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือป่าแห่งกวาง ในนครพาราณสี ข้อสันนิษฐานดังกล่าวสอดคล้องกับแนวความคิดของนักวิชาการส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าการสร้างรูปธรรมจักรประดับอยู่บนเสาในศิลปะอินเดียตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะลงมา หมายถึงพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา

      การค้นพบฐานและเสา พร้อมกับกงล้อธรรมจักร ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้มั่นใจได้ว่า แต่เดิมล้อธรรมจักรเหล่านี้ตั้งอยู่บนยอดเสา หรือที่เรียกว่า "ธรรมจักรสตัมภะ" เช่นเดียวกับต้นแบบในศิลปะอินเดีย พร้อมกับที่เป็นการตอกย้ำแนวความคิดของศาสตราจารย์ เซเดส์ ว่าธรรมจักรเหล่านี้แสดงความหมายถึงพุทธประวัติตอนดังกล่าว อย่างไรก็ดี ลวดลายที่ปรากฏอยู่บนวงล้อธรรมจักรทั้งหลายนั้น ส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความหมายทางประติมานวิทยาอย่างอื่นนอกเหนือไปจากเหตุการณ์ในพุทธประวัติ โดยเฉพาะบริเวณภาพสลักในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมใต้ดุมล้อธรรมจักร

หลักฐานสำคัญ

-

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

พระพุทธศาสนา ศิลปะอินเดีย จังหวัดสุพรรณบุรี ยอร์ช เซเดส์ เสาธรรมจักร ราชวงศ์โมริยะ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

ยุคสมัย

กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ยุคต้น

จำนวนผู้เข้าชม

194

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

1 ธ.ค. 2565

คติรูปพระสูรยะบนธรรมจักรในศิลปะทวารวดี

  • คติรูปพระสูรยะบนธรรมจักรในศิลปะทวารวดี
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ

    ชื่อบทความ :
    คติรูปพระสูรยะบนธรรมจักรในศิลปะทวารวดี

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม

    ปีที่ :
    3

    ฉบับที่ :
    5

    หน้าที่ :
    59 - 67

    ภาษา :
    ภาษาไทย

    หัวเรื่อง :
    -

    เนื้อหาโดยย่อ

         ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้สันนิษฐานว่า รูปวงล้อศิลาเหล่านี้มีการค้นพบอยู่ใกล้กับประติมากรรมรูปกวางหมอบ จึงชวนให้นึกถึง "ธรรมจักร" ซึ่งพระพุทธองค์ทรงหมุน (คือสั่งสอน) เมื่อประทานปฐมเทศนา "ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร" ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือป่าแห่งกวาง ในนครพาราณสี ข้อสันนิษฐานดังกล่าวสอดคล้องกับแนวความคิดของนักวิชาการส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าการสร้างรูปธรรมจักรประดับอยู่บนเสาในศิลปะอินเดียตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะลงมา หมายถึงพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา

          การค้นพบฐานและเสา พร้อมกับกงล้อธรรมจักร ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้มั่นใจได้ว่า แต่เดิมล้อธรรมจักรเหล่านี้ตั้งอยู่บนยอดเสา หรือที่เรียกว่า "ธรรมจักรสตัมภะ" เช่นเดียวกับต้นแบบในศิลปะอินเดีย พร้อมกับที่เป็นการตอกย้ำแนวความคิดของศาสตราจารย์ เซเดส์ ว่าธรรมจักรเหล่านี้แสดงความหมายถึงพุทธประวัติตอนดังกล่าว อย่างไรก็ดี ลวดลายที่ปรากฏอยู่บนวงล้อธรรมจักรทั้งหลายนั้น ส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความหมายทางประติมานวิทยาอย่างอื่นนอกเหนือไปจากเหตุการณ์ในพุทธประวัติ โดยเฉพาะบริเวณภาพสลักในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมใต้ดุมล้อธรรมจักร

    หลักฐานสำคัญ

    -


    ห้องสมุดแนะนำ :
    หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ยุคต้น

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    พระพุทธศาสนา ศิลปะอินเดีย จังหวัดสุพรรณบุรี ยอร์ช เซเดส์ เสาธรรมจักร ราชวงศ์โมริยะ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 1 ธ.ค. 2565
    จำนวนผู้เข้าชม : 194