หน้าแรก บทความ ฉันท์ในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ฉันท์ในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ฉันท์ในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ชื่อผู้แต่ง นิพัชธ์ แย้มเดช
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
ปี 2562
ปีที่ 18
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 131-162
ภาษา ไทย
หัวเรื่อง ฉันท์, จารึก, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
หมายเหตุ <p>ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า จารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นิยมจารึกด้วย คำประพันธ์ประเภท “ร้อยกรอง” โดยกวีใช้ฉันท์ (chandas) หลายรูปแบบ</p>

เนื้อหาโดยย่อ

บทความนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาฉันท์ในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัย วรมันที่ 7 ได้แก่ จารึกปราสาทตาพรหม จารึกปราสาทพระขรรค์ จารึก ปราสาทพิมานอากาศ และจารึกปราสาทจรุง โดยนำกรอบคิดฉันทศาสตร์ ของเกษเมนทร์ กวีและนักวรรณคดีสันสกฤตในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มาเป็น แนวทางวิจารณ์ลีลาและความเหมาะสมของฉันท์

ผลการศึกษาพบว่า ฉันท์ในจารึกมีทั้งหมด 10 รูปแบบ เรียงลำดับจากฉันท์ ที่มีพยางค์น้อยจนถึงฉันท์ที่มีพยางค์มาก ประกอบด้วย (1) อนุษฎภ (2) อุปชาติ (3) อินทรวัชรา (4) อุเปนทรวัชรา (5) วัมศัสถา (6) วสันตติลกา (7) มาลินี (8) มันทากรานตา (9) ศารทูลวิกรีฑิต (10) อารยา ฉันท์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มฉันท์ ว ฤตตะ ยกเว้นอารยาที่อยู่ในกลุ่มฉันท์ชาติ โดยภาพรวมของฉันท์จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ฉันท์ที่สามารถอ่านได้ชัดเจน เนื้อความครบถ้วนสมบูรณ์ และฉันท์ที่ ไม่สามารถอ่านได้ชัดเจน เนื้อหาไม่สมบูรณ์ ฉันท์แต่ละรูปแบบสะท้อนให้เห็นว่า กวีสร้างสรรค์รูปแบบฉันท์เหมาะสมกับลีลาและการแสดงอารมณ์หรือรสวรรณคดี สอดคล้องกับข้อสังเกตของเกษเมนทร์ ความงดงามของฉันท์จึงส่งเสริมให้จารึก กอปรด้วยความงาม และสื่อเนื้อความตามจุดประสงค์ของกวี

หลักฐานสำคัญ

จารึกภาษาสันสกฤตที่ปรากฏบริเวณศาสนสถานที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างหรือบูรณะขึ้น เห็นได้จากจารึกปราสาทตาพรหม จารึก ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทพิมานอากาศ เป็นต้น

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

จารึก ฉันท์ สันสกฤษ พระเจ้าชัยวรมันที่7 ศาสนสถาน

ยุคสมัย

สมัยพระนคร

จำนวนผู้เข้าชม

59

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

29 มี.ค. 2567

ฉันท์ในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

  • ฉันท์ในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    นิพัชธ์ แย้มเดช

    ชื่อบทความ :
    ฉันท์ในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    กรกฎาคม-ธันวาคม

    ปี :
    2562

    ปีที่ :
    18

    ฉบับที่ :
    2

    หน้าที่ :
    131-162

    ภาษา :
    ไทย

    หัวเรื่อง :
    ฉันท์, จารึก, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

    หมายเหตุ :

    ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า จารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นิยมจารึกด้วย คำประพันธ์ประเภท “ร้อยกรอง” โดยกวีใช้ฉันท์ (chandas) หลายรูปแบบ


    เนื้อหาโดยย่อ

    บทความนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาฉันท์ในจารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าชัย วรมันที่ 7 ได้แก่ จารึกปราสาทตาพรหม จารึกปราสาทพระขรรค์ จารึก ปราสาทพิมานอากาศ และจารึกปราสาทจรุง โดยนำกรอบคิดฉันทศาสตร์ ของเกษเมนทร์ กวีและนักวรรณคดีสันสกฤตในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มาเป็น แนวทางวิจารณ์ลีลาและความเหมาะสมของฉันท์

    ผลการศึกษาพบว่า ฉันท์ในจารึกมีทั้งหมด 10 รูปแบบ เรียงลำดับจากฉันท์ ที่มีพยางค์น้อยจนถึงฉันท์ที่มีพยางค์มาก ประกอบด้วย (1) อนุษฎภ (2) อุปชาติ (3) อินทรวัชรา (4) อุเปนทรวัชรา (5) วัมศัสถา (6) วสันตติลกา (7) มาลินี (8) มันทากรานตา (9) ศารทูลวิกรีฑิต (10) อารยา ฉันท์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มฉันท์ ว ฤตตะ ยกเว้นอารยาที่อยู่ในกลุ่มฉันท์ชาติ โดยภาพรวมของฉันท์จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ฉันท์ที่สามารถอ่านได้ชัดเจน เนื้อความครบถ้วนสมบูรณ์ และฉันท์ที่ ไม่สามารถอ่านได้ชัดเจน เนื้อหาไม่สมบูรณ์ ฉันท์แต่ละรูปแบบสะท้อนให้เห็นว่า กวีสร้างสรรค์รูปแบบฉันท์เหมาะสมกับลีลาและการแสดงอารมณ์หรือรสวรรณคดี สอดคล้องกับข้อสังเกตของเกษเมนทร์ ความงดงามของฉันท์จึงส่งเสริมให้จารึก กอปรด้วยความงาม และสื่อเนื้อความตามจุดประสงค์ของกวี

    หลักฐานสำคัญ

    จารึกภาษาสันสกฤตที่ปรากฏบริเวณศาสนสถานที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างหรือบูรณะขึ้น เห็นได้จากจารึกปราสาทตาพรหม จารึก ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทพิมานอากาศ เป็นต้น


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    สมัยพระนคร

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    จารึก ฉันท์ สันสกฤษ พระเจ้าชัยวรมันที่7 ศาสนสถาน

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 29 มี.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 59