Google Translate
คำนำบทคัดย่อบทนำ
บทที่ 1 การศึกษาเรื่องเมืองสุพรรณ : จากมิติการเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทยสู่การศึกษาท้องถิ่นและจิตสำนึกท้องถิ่นแบบชาตินิยม
บทที่ 2 เมืองอู่ทอง : พัฒนาการจากชุมชนหมู่บ้านคู่เมืองพุทธศตวรรษที่ 3-16
บทที่ 3 สุพรรณภูมิ : เมืองสำคัญในลุ่มน้ำท่าจีนพุทธศตวรรษที่ 17-19
บทที่ 4 บทบาทสุพรรณบุรี หัวเมืองชั้นในสมัยอยุธยา
บทที่ 5 สุพรรณบุรี เมืองชนบทสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2411)
บทสรุป
วิวัฒนาการเมืองสุพรรณก่อรูปขึ้นตั้งแต่ยังเป็นชุมชนหมู่บ้านลุ่มนำ้จรเข้สามพัน พัฒนาขึ้นเป็นเมืองอู่ทองโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 3-16 ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดี และเป็นเมืองท่าเมืองสำคัญของรัฐทวารวดีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ผลกระทบนิเวศน์ชายฝั่ง ทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน เมืองถูกทิ้งร้างไป ผู้คนอพยพรวมกลุ่ม ตั้งชุมชนเมืองในแถบลำน้ำสุพรรณบุรีตอนใน การหลั่งไหลของผู้คนและการรับวัฒนธรรมภายนอก ทำให้เมืองสุพรรณภูมิพัฒนาอำนาจรัฐขึ้นสู่รัฐสุพรรณภูมิ มีบทบาททางการเมืองและการค้ากับจีน ในพุทธศตวรรษที่ 19 และได้มีบทบาทสำคัญต่อการสถาปนาอยุธยาศูนย์อำนาจแห่งใหม่ ความเหมาะสมทั้งการเมืองและการค้าของอยุธยา ทำให้ผู้นำสุพรรณภูมิเลือกอยุธยาเป็นศูนย์อำนาจสำหรับการก้าวขึ้นสู่จักรพรรดิราช เมืองสุพรรณจึงถูกลดฐานะเป็นเพียงเมืองลูกหลวงของอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 20 และเป็นหัวเมืองจัตวาชั้นในเขตปริมณฑลราชธานีในพุทธศตวรรษที่ 21 แต่ก็ยังเป็นเมืองหน้าด่าน จนถูกยกเลิกไปหลังเสียกรุงเก่ามาครั้งแรก พ.ศ.2112 เมืองสุพรรณยังคงเป็นเมืองฐานกำลังคนให้กับอยุธยาตลอดสมัยอยุธยา ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ การเพิ่มจำนวนประชากร การปลอดจากเส้นทางเดินทัพไทย-พม่า และที่สำคัญการเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจการค้าของกรุงเทพฯ ทำให้เมืองสุพรรณ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่เพาะปลูกลุ่มนำ้เก่ามาก่อน ได้มีบทบาทเป็นเมืองเกษตรชนบทเพาะปลูกข้าวเพื่อป้อนราชธานีและเพื่อการส่งออก