Google Translate
กิติกรรมประกาศบทคัดย่อคำนำอักษรย่อชื่อวารสารภาษาต่างประเทศที่ใช้ในรายงานฉบับนี้ความเป็นมาของปัญหาวัตถุประสงค์ในการวิจัยขอบเขตการวิจัยข้อสมมุติฐานเบื้องต้นวิธีดำเนินการวิจัยความสำคัญหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยปัญหาและอุปสรรคในการวิจัยสรุปการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเมืองอู่ทองโบราณและชุมชนลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพัน
บทที่ 1บทนำ
บทที่ 2ภูมิหลัง สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ และแหล่งชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพันเกี่ยวกับเมืองอู่ทองโบราณและชุมชนลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพัน2.1 ภูมิหลัง2.2 สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์2.3 แหล่งชุมชนบริเวณลุ่มแม่นจรเข้สามพัน
บทที่ 3ชุมชนลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพันและเมืองอู่ทองโบราณ พิจารณาจากหลักฐานต่างประเทศ และพงศาวดาร ตำนาน และนิทานคำบอกเล่า3.1 หลักฐานต่างประเทศ3.2 พงศาวดาร ตำนาน และนิทานคำบอกเล่า
บทที่ 4ชุมชนลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพันและเมืองอู่ทองโบราณพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดีของอู่ทองโบราณ4.1 หลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์4.2 หลักฐานสมัยใกล้ประวัติศาสตร์4.3 หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
บทที่ 5ผลการขุดค้นทางโบราณคดี โดย ดร.พรชัย สุจิตต์ และคณะ
บทที่ 6วิเคราะห์สรุปบรรณานุกรมภาคผนวก : รายนามผู้ที่ให้การสัมภาษณ์
ลุ่มแม่น้ําจรเข้สามพัน เป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีความสําคัญและรู้จักกันดีในหมู่นักศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชุมชนโบราณที่สําคัญที่สุดในบริเวณนี้ คือ เมืองอู่ทองโบราณ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ เป็นแหล่งที่มีการพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมาย แต่ทว่าไม่ได้มีการใช้หลักฐานนั้นเพื่อการศึกษาอย่างเป็นระบบเท่าที่ควร จนกระทั่งหลักฐานเหล่านั้นถูกทําลาย หรือไม่ก็แปร สภาพไปแล้วเป็นอันมาก
คณะผู้วิจัยมีความประสงค์จะใช้หลักฐานเท่าที่มีอยู่ และที่พอจะหาเพิ่มเติมได้ใหม่ ในการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของชุมชนในเขตลุ่มแม่น้ํา จรเข้สามพัน เน้นโดยเฉพาะเมืองอู่ทองโบราณ และขณะเดียวกันก็ศึกษาความสําคัญของ ชุมชนโบราณดังกล่าวที่มีต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนสุโขทัยและอยุธยา รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนนั้นกับชุมชนโบราณอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน หรือที่มีการติดต่อเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการว่า บริเวณลุ่มแม่น้ําจรเข้สามพันเป็นชุมชนสําคัญมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีความเจริญสูงสุดในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-17) และโดยเหตุที่สภาพที่ตั้งของลุ่มน้ําจรเข้สามพันอยู่ในเส้นทางการค้าสมัยโบราณ ระหว่างตะวันออกกลาง-อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน จึงกลายเป็นแหล่ง ชุมชนค้าขายที่สําคัญมาแต่โบราณ และยังมีหลักฐานปรากฏว่า คงจะมีความสัมพันธ์ทางการ ค้ากับอินเดียมากขึ้นในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 6-7เป็นต้นมา จึงปรากฏว่า ยิ่งการค้า ระหว่างอินเดียกับจีนมีเพิ่มพูนมากขึ้นเพียงใด การเติบใหญ่ของชุมชนโบราณตลอดเส้นทาง การค้านั้นก็ยิ่งมีมากขึ้นเป็นลําดับ ดังจะเห็นได้จากพัฒนาการของนครรัฐในบริเวณลุ่มแม่น้ํา เจ้าพระยาและภาคใต้ของประเทศไทย จากพุทธศตวรรณที่ 8 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ทั้งนี้รวมถึงพัฒนาการของชุมชนโบราณที่อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก อันได้ แก่ ลุ่มแม่น้ําน้อย และแม่น้ําสุพรรณบุรี-นครไชยศรี ท่าจีน เป็นสําคัญในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนี้ ศูนย์กลางความเจริญที่เก่าแก่โดยเฉพาะในสมัยต้นทวารวดีและก่อนทวารวดีนั้นซึ่งแยกจากแม่น้ําสุพรรณบุรีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ําจรเข้สามพัน โดยที่ศูนย์กลางสําคัญของชุมชนอยู่บริเวณที่เรียกว่า เมืองอู่ทองโบราณ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของลําน้ําจรเข้สามพัน นอกจากนี้ ยังมีชุมชนใกล้เคียง ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สํารวจหาข้อมูลจากหลักฐานประเภทต่าง ๆพร้อมกับการศึกษาเรื่องเมืองอู่ทองโบราณ คือ ชุมชนบ้านท่าพระยาจักร ชุมชนบ้านจรเข้สามพัน ชุมชนบ้านนาลาว ชุมชนบ้านยังทะลาย ชุมชนบ้านยางยี่แส และชุมชนตอนยายเกตุ หรือโคกยายเกตุ ชุมชนเหล่านี้มีหลักฐานโบราณคดีประเภทโบราณสถาน โบราณวัตถุ หลักฐานประวัติศาสตร์ประเภทเอกสารตํานาน นิทานพื้นบ้าน นิยายปรัมปรา และอื่น ๆ มากมาย และที่น่าสนใจคือ หลักฐานทางชาติวงศ์วรรณาที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ทางเครือ ญาติของคนในชุมชนโบราณที่อยู่ใกล้เคียงกันนี้ และมีผลทําให้ผู้คนในบริเวณแถบนี้มีความ สัมพันธ์ด้านความเชื่อและพิธีกรรมแบบเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันมากที่สุด เช่น ความเชื่อ ในนิทานเรื่องท้าวอู่ทอง และเรื่องสระน้ําศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
จากหลักฐานประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกสารต่างประเทศ พงศาวดาร และตํานาน คําบอกเล่า จะเห็นเรื่องราวของชุมชนลุ่มแม่น้ําจรเข้สามพันและเมืองอู่ทองโบราณมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชื่อหลายชื่อ ซึ่งล้วนแต่มีความสําคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประวัติศาสตร์ไทยสมัยโบราณทั้งสิ้นหลักฐานจากคัมภีร์ชาดกทางพุทธศาสนาของอินเดีย เช่น พฤหัตถกถา กถาโฆษะ มิลินทปัญหา ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น ระบุถึงการเดินทางของพ่อค้าอินเดียไปสู่ ดินแดน "สุวรรณภูมิ" และ "สุวรรณทวีป" ซึ่งหมายถึง "ดินแดนทอง" ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และปรากฎหลักฐานด้านเอกสารในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3-4 ลงมา "ดินแดนทอง" นี้จะอยู่ที่ไหนแน่ เป็นสิ่งที่มีผู้ศึกษามาก แม้จะยังไม่มีการสรุปเป็นการแน่นอน แต่อาจกล่าวได้ว่า หลักฐานด้านเอกสารอินเดีย หลักฐานโบราณคดี พบว่าดินแดนลุ่มแม่น้ําจรเข้สามพันรวมทั้งอู่ทองโบราณน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "สุวรรณภูมิ"หรือ"สุวรรณทวีป" ด้วย
จากหลักฐานกรีก-โรมัน หลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ปรากฏมีหลักฐาน พาดพิงถึง "ดินแดนทอง" หรือ "สุวรรณภูมิ” ว่ามีอยู่จริง โดยเรียกดินแดนดังกล่าวว่า "ใครเส" (Chryse) หรือ "ใครเส เซอร์โสเนโสส" (Chryse Chersonesos) ซึ่งตรงกับหลักฐานจีนที่รับรู้ชื่อ" จิ้นหลิน" หรือ "ดินแดนทอง" เช่นกัน นอกจากนี้หลักฐานจีนยังมีชื่อ "ทุนซุน" ซึ่งเมื่อสืบค้นดูจากระยะทาง และมีความสัมพันธ์กับชื่อสถานที่สําคัญ หลายแห่ง ก็น่าจะมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอู่ทองและดินแดนลุ่มแม่น้ําจรเข้สามพันด้วย
นอกจากนี้ เรายังอาจพบชื่อ "สุวรรณภูมิ" "สุพรรณภูมิ" หรือ "สุพรรณภาว" หรือ "สุวรรณปุระ" ปรากฏอยู่ในหลักฐานประเภทพงศาวดาร ตํานาน และนิทานคํา บอกเล่า เช่น ตํานานพระธาตุลําปางหลวง ตํานานพระพุทธรูปแก่นจันทน์ ตํานานเรื่องท้าวอู่ทอง ท้าวแสนปม พงศาวดารโยนกพงศาวดารเหนือ ตำนานสิงหนวัติกุมารเป็นต้น หลักฐานเหล่านี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับท้าวอู่ทองและการตั้งเมืองของท้าวอู่ทอง ซึ่งสามารถผูกโยงเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิทานคำบอกเล่าของคนที่อาศัยอยู่ในเขตทองโบราณและดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพันได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
พิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดี บริเวณลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพันและภายในเขตเมืองอู่ทองโบราณ ปรากฏว่ามีการพบหลักฐานโบราณวัตถุหลายประเภท ซึ่งล้วนเป็นประจักษ์พยานถึงการเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีความสำคัญมาแต่ครั้งสมัยหินใหม่ลงมา โบราณวัตถุที่พบมากมี ขวานหินขัด หรือขวานฟ้าชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะชนิดมีบ่า ตุ้มหู ทั้งที่เป็นหินเนฟไฟรท์และเป็นโลหะ กำไล ทั้งที่เป็นหินและสำริดแบบต่าง ๆ เครื่องปั้นดินเผา รูปแบบต่าง ๆ และทำด้วยกรรมวิธีแตกต่างกัน ลูกกระสุนดินเผา และ ลูกปัด ซึ่งมีรูปแบบหลากหลายและพบในปริมาณมาก กระจัดกระจายทั่วทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพัน นอกจากนี้ โบราณวัตถุที่พบยังมี เงิน หรือ เหรียญตรา เครื่องราง (amulets) ตรา(seals) แหวนสำริดสำหรับประทับตรา ตลอดจนเงินตราชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเงินตราต่างประเทศด้วย
นอกจากหลักฐานประเภทโบราณวัตถุจำนวนมากมายดังกล่าวแล้ว บริเวณลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพันยังมีเนินดินที่เป็นซากของโบราณสถานอีกมากมายหลายแห่งเท่าที่กรมศิลปากรทำการสำรวจและขุดแต่งระหว่างช่วงเวลา พ.ศ. 2506 2509 เพียงช่วงเดียว ปรากฏมีทั้งหมดประมาณ 20 กว่าแห่ง ส่วนใหญ่เป็นซากของเจดีย์สมัยทวารวดีต่อเนื่องลงมาจนถึงสมัยอยุธยา ส่วนที่เป็นโบสถ์ วิหาร หรือศาสนสถานมีอยู่ไม่มากนัก เจดีย์ และเนินดินที่เป็นซากโบราณสถานต่าง ๆ เหล่านี้ มักถูกลักลอบขุดทำลายเพื่อล่าสมบัติเสียหาย ยับเยินมาก แม้กระนั้นก็ยังมีโบราณวัตถุเหลืออยู่ให้ศึกษาพอเป็นแนวทางได้บ้าง เป็นต้นว่าหลักฐานประเภทพระพุทธรูป พระพิมพ์ ประติมากรรม ดินเผา และปูนปั้นชนิดต่างๆ ตลอดจนประติมากรรมทางศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะสมัยทวารวดี
หลักฐานทางโบราณคดีที่คณะผู้วิจัยได้ประมวลมาจากที่ได้มีการสำรวจ ขุดค้นและสรุปผลมาแล้วข้างต้น ยังมีเพิ่มเติมจากการขุดค้นของ ดร. พรชัย สุจิตต์ และคณะในบริเวณพื้นที่เป้าหมายสำหรับการขุดหลุมทดลองที่หมู่บ้านนาลาว ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งการขุดค้นครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพันโดยตรงและเป็นการขุดหลุมทดลองรวม 5 หลุม ในเนื้อที่ 29 ตารางเมตร ในบริเวณพื้นที่ที่คาดว่าจะถูกรบกวนน้อย โดย 4 หลุมอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจรเข้สามพัน และอีก 1 หลุม อยู่ฝั่งตะวันตก จากผลการขุดค้นพบว่า อยู่คนละสมัยกัน หลุมที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำนั้น มีร่องรอยของยุคประวัติศาสตร์รุ่นหลังกว่า 4 หลุมทางฝั่งตะวันออกมาก ซึ่งหลุมทั้ง 4 หลุมนั้น ปรากฏมีชิ้นส่วนของโครงกระดูกมนุษย์โบราณจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังพบโบราณวัตถุประเภทขวานหินขัด กระสุน ดินเผา ภาชนะดินเผา กำไลหิน กำไลแก้ว ตะกรัน หรือแร่ และเปลือกหอยชนิดต่าง ๆ มาก ส่วนลูกปัดพบบ้างเฉพาะในส่วนผิวดินที่ถูกรบกวนเสียหายแล้ว สิ่งเหล่านี้บ่งบอกได้พอควรว่า บริเวณบ้านนาลาวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจรเข้สามพัน เป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ ตั้งแต่สมัยก่อนที่พุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์จะเข้ามามีอิทธิพล อย่างน้อยควรเก่าถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และคงอยู่ต่อมาจนถึงสมัยใกล้ประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ที่มีการสร้างเมืองอู่ทองโบราณในลักษณะที่มีคูน้ำคันดินแบบเมืองทวารวดี
จากการวิเคราะห์หลักฐานหลายอย่างในเขตบ้านนาลาวทำให้สรุปได้ว่า บ้านนาลาวก็คงเป็นเช่นชุมชนโบราณอีกหลายแห่งในเขตลุ่มน้ำจรเข้สามพัน และบริเวณใกล้เคียง กล่าวคือเป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ มีการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมกับบริเวณใกล้เคียง และกับต่างประเทศด้วย การพบเปลือกหอยน้ำจืด พวกหอยโข่ง หอยขมจำนวนมากทำให้สันนิษฐานได้ว่า มีชุมชนที่อยู่อาศัยในบริเวณเนินติดกับลำนาจรเข้สามพันจำนวนมากพอดู ดังจะเห็นได้จากเปลือกหอย หรือ "ขยะ" จากการบริโภคอาหาร และจากหลักฐานที่เรียกว่า ตะกรัน หรือแร่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า บริเวณนี้คงจะเคยเป็นแหล่งถลุงเร่เหล็กเพื่อใช้ภายในครอบครัว หรือชุมชน หรือนอกชุมชนในรูปของเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเหล็กที่มีคุณภาพดี เพราะเหล็กมีส่วนผสมของแมงกานีสออกไซด์ในปริมาณค่อนข้างสูง จึงมีความเหนียวไม่เปราะง่าย
การขุดค้นที่บ้านนาลาว เป็นเพียงตัวอย่างความพยายามของคณะผู้วิจัยที่จะศึกษาหาข้อมูลจากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ไม่มาก จึงยังห่างไกลจากความสมบูรณ์ เพราะขาดตัวอย่างและหลักฐานเพียงพอที่จะใช้ในการเปรียบเทียบ อย่างไรก็ดี หากมีการขุดค้นเพิ่มเติมอย่างเป็นระบบ และมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะข้อมูลประเภทตะกรันหรือแร่ เปลือกหอย เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัด และเครื่องประดับต่าง ๆ ก็คงจะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของชุมชนโบราณลุ่มน้ำจรเข้สามพัน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนดังกล่าวกับชุมชนอื่น ๆ ได้ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น