Google Translate
กิตติกรรมประกาศบทคัดย่อAbstractกิตติกรรมประกาศสารบัญเรื่องสารบัญตารางสารบัญรูป
บทที่ 1 บทนำ ปัญหารที่ทำการวิจัย และความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ระเบียบวิธีวิจัย ขอบเขตของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย
บทที่ 2 สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพื้นที่วิจัย จังหวัดลพบุรี แหล่งโบราณคดีซับจำปา
บทที่ 3 การปฏิบัติงานโบราณคดีภาคสนาม การสำรวจบนผิวดิน การสำรวจใต้ผิวดินด้วยการขุดตรวจด้วยหัวเจาะ การขุดทดสอบทางโบราณคดี ผลการขุดทดสอบแหล่งโบราณคดีซับจำปา หลุมขุดทดสอบ SCP-1 หลุมขุดทดสอบ SCP-2 หลุมขุดทดสอบ SCP-3 หลุมขุดทดสอบ SCP-4 หลุมขุดทดสอบ SCP-5
บทที่ 4 การวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี การวิเคราะห์อายุสมัยของแหล่งโบราณคดี การจัดลำดับอายุจากภาชนะดินเผา ลำดับอายุสมัยของการอยู่อาศัยที่แหล่งโบราณคดีซับจำปา การวิเคราะห์โบราณวัตถุประเภทต่าง ๆ ภาชนะดินเผา แวดินเผา เครื่องประดับ (ลูกปัด กำไล ต่างหู และแหวน) เครื่องมือหิน หินลับ หินบด งบน้ำอ้อย เครื่องมือโลหะ ตะกรัน เครื่องมือกระดูก เบี้ย หินดุ กระดูกสัตว์ การวิเคราะห์หอย การวิเคราะห์ดิน หลักฐานและโบราณวัตถุประเภทอื่น ๆ โครงกระดูกมนุษย์
บทที่ 5 การตีความผลการวิเคราะห์ แบบแผนการยังชีพ อาหาร การตั้งถิ่นฐาน การติดต่อแลกเปลี่ยน/การค้าทางไกล การจัดระเบียบสังคม
บทที่ 6 บทสรุป สรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต
เอกสารอ้างอิงภาคผนวก
งานวิจัยทางโบราณคดีนี้มุ่งค้นหาพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจของสังคมในอดีตช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อเนื่องถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นในภาคกลางของประเทศไทย หรือระหว่างช่วงเวลาประมาณ 2,500-1,500 ปีมาแล้ว โดยใช้แหล่งโบราณคดีซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่าในช่วงต้นของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคสำริด) สังคมยังไม่แสดงให้เห็นความซับซ้อนในด้านการจัดระเบียบทางสังคมมากนัก แม้ว่าจะมีหลักฐานที่แสดงถึงความแตกต่างด้านความมั่งคั่งและอาจจะมีระเบียบทางสังคมอย่างง่าย มีความเท่าเทียมกันในสังคมมากกว่าการมีชนชั้นปกครอง ส่วนระบบเศรษฐกิจยังเป็นแบบพึ่งพาตนเอง เป็นเศรษฐกิจชุมชน โดยพึ่งพาการผลิตหัตถกรรมประเภทเครื่องประดับเป็นหลัก เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าจากชุมชนอื่น อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีระบบการรวมศูนย์การผลิตไว้ที่ส่วนกลาง ในช่วงปลายของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคเหล็ก) เริ่มมีความซับซ้อนทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น การผลิตงานหัตถกรรมมีความเข้มข้นมากขึ้นและมีเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น มีเครือข่ายการติดต่อค้าขายทางไกล ประชากรเพิ่มขึ้น สังคมอาจจะตึงเครียดมากขึ้นซึ่งนำไปสู่การจัดระเบียบทางสังคมใหม่ เมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น (สมัยทวารวดี) สังคมมีความซับซ้อนอย่างเด่นชัด มีการจัดระเบียบทางสังคมแบบรวมศูนย์ ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปและมีบทบาทลดลงไป กิจกรรมทางศาสนาเข้ามามีบทบาทเด่นขึ้นแทน