Google Translate
ความหมายของวัฒนธรรม
ประเภทของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมกับหลักฐานทางโบราณคดี
ประเด็นข้อเสนอเพื่ออภิปราย "พัฒนาการทางวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู"
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
ความสำคัญของการศึกษา
ขอบเขตการศึกษา
วิธีการศึกษา
สภาพภูมิศาสตร์
โครงสร้างและลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศสมัยไพลสโตซีน
ลักษณะภูมิศาสตร์ทั่วไปของเขต Sundaic ช่วงน้ำทะเลลดระยะน้ำแข็งสุดท้าย
บ้านเก่า
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี
แหล่งโบราณคดีลางสเปียน
สำโรงเสน
วัฒนธรรมฟุงเหงียน
ถ้ำอากู (Arku Cave)
ข้อเสนอกรอบสมมติฐาน
จังหวัดชุมพร
จังหวัดสุราษฏร์ธานี
การศึกษาเปรียบเทียบแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
ก่อนประวัติศาสตร์
ข้อสรุปจากผลการศึกษาจนถึงปัจจุบัน
การวิเคราะห์เชิงพื้นที่
กึ่งก่อนประวัติศาสตร์
เส้นทางข้ามคาบสมุทร
เส้นทางภายในคาบสมุทร
อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอารยธรรมโพ้นทะเล
ข้อเท็จจริงและสถานภาพชุมชนโบราณในคาบสมุทรมลายู
การศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่ภาคใต้เป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ระยะแรกในทุกส่วนและนําเสนอผลการสังเคราะห์และการแปลความตามข้อมูลใหม่ที่ค้นพบตามกรอบแนวความคิดด้านความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการ ทางสังคมและวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู และกำหนดกรอบของการเสนอแนวทางการจัดลำดับสมัยทางวัฒนธรรมให้เห็นพัฒนาการของชุมชนในภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่สมัยแรกสุดที่พบหลักฐานของมนุษย์จนถึงพ.ศ. 1773 ซึ่งสังคมมีวิวัฒนาการในระดับรัฐเริ่มแรก และเข้าสู่ยุคประวัติศาสแล้ว ในห้วงเวลาดังกล่าวนี้มีเหตุการณ์หลักฐานที่สะท้อนกิจกรรมทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นอย่างมากมายหลากหลายรูปแบบ และมีส่วนสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจการพาณิชย์นาวีกับนานาชาติมาตั้งแต่ต้น
การศึกษาในครั้งนี้นอกจากเป็นการนำเสนอผลการแปลความจากหลักฐานที่พบใหม่ในคาบสมุทรตอนบนแล้วยังได้ปรับปรุงผลการวิเคราะห์ การกำหนดอายุ และการกำหนดรูปแบบทางศิลปะของหลักฐานบางประเภทที่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้พบว่าทั้งหมดนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในภาพรวมและสามารถเชื่อมโยงกับร่องรอยหลักฐานที่พบจากการศึกษาตามหลักวิชาการจากประเทศต่างๆได้