Google Translate
1. บทนํา
2. การเมืองและการปกครองสมัยทวารวดี
3. หลักฐานที่แสดงถึงการมีอยู่ของผู้ปกครอง และชนชั้นสูงสมัยทวารวดี
4. บทสรุป
จากการขุดแต่งโบราณสถานเนินพระงาม วัดพระงาม จังหวัดนครปฐม นอกจากมีการขุดค้นพบ “ประติมากรรมดินเผารูปอสูร” ยังได้พบศิลาจารึกสมัยทวารวดีทางด้านทิศเหนือของเนินโบราณสถานวัดพระงาม จํานวน 1 หลัก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําด้วยหินสีเทา ส่วนที่เหลือยังคงปรากฏรูปอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤตบางส่วนที่สามารถอ่านได้อย่างชัดเจน ได้กล่าวถึงคําว่า “ทวารวตีวิภูติ” แปลความได้ว่า “ผู้ยิ่งใหญ่แห่งทวารวดี” จึงเป็นการยืนยันถึงการมีตัวตนของบ้านเมืองนามว่า “ทวารวดี” และยืนยันการมีผู้นําในการปกครอง ดังนั้นการที่ทวารวดีอาจเป็นแคว้นและอาณาจักรที่ก่อเกิดขึ้นได้ก็ตามย่อมมีชนชั้นปกครองและชนชั้นสูงเป็นตัวคับเคลื่อนสังคมที่มีประชารัฐ มีอาณาเขต และอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ชนชั้นปกครอง และชนชั้นสูงประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ เจ้านาย และขุนนาง จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศพบว่า มีเมืองโบราณในช่วงสมัยทวารวดีมากกว่า 63 เมืองด้วยกัน จากการสํารวจและขุดค้นทางโบราณคดียังพบว่าเมืองโบราณแทบทุกแห่งจะมีลักษณะความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์พัฒนาการขึ้นมาสู่ช่วงสมัยทวารวดีเมื่อมีการติดต่อกับอารยธรรมอินเดีย ดังนั้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ําภาคกลางตอนล่างดังกล่าวจึงปรากฎนามว่าทวารวดีที่อาจเป็นชื่อกษัตริย์ บ้านเมือง อาณาจักร ชื่อราชวงศ์หรืออาจเป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มเมืองเจ้าของวัฒนธรรมแบบเดียวกัน ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่11-16 และความเป็นบ้านเมือง และชนชั้นสูงในการทํานุบํารุง และปกครองแว้นแคว้นของตน มีการค้นพบจารึกภาษาสันสกฤต ตัวอักษรปัลลาวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 บนเหรียญเงิน 2 เหรียญ ที่โบราณสถานเนินหิน ใกล้วัดพระประโทนเจดีย์จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ.2486 ความว่า “ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” แปลได้ว่า “พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ” บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดีหรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดีหลักฐานดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานถึงการมีอยู่จริง ของชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นสูง นอกจากหลักฐานดังกล่าวก็สามารถศึกษาได้จากหลักฐานโบราณคดีสมัยทวารวดีประเภทอื่น ๆ ได้แก่จารึกที่ปรากฎบนแผ่นดินเผา แผ่นทองแดง และฐานธรรมจักร เป็นต้น