หน้าแรก วิดีโอ วัฒนธรรมทุ่งกุลา วิถีอีสานโบราณ “Thung Kula Culture” Northeastern Ancient Way | รากสุวรรณภูมิ

วัฒนธรรมทุ่งกุลา วิถีอีสานโบราณ “Thung Kula Culture” Northeastern Ancient Way | รากสุวรรณภูมิ

ผู้ผลิต Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง ศรีศักร วัลลิโภดม, สุกัญญา เบาเนิด, ศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล และคนอื่นๆ
เรื่องย่อ

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช หรืออีสานตอนกลาง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ เป็นบริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้" ข้อมูลทางธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน จากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก จนกลายเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ก่อนจะกลายเป็นผืนแผ่นดินแยกแตกระแหง ที่ยังมีเกลือและดินเค็มเป็นหลักฐานที่เชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบัน

ณ พื้นที่แห่งนี้ ได้ขุดค้นพบความเชื่อมโยงของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์มากมาย แหล่งโบราณคดีที่ถูกยกให้เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมทุ่งกุลาคือที่บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ถ้าพูดถึงลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ที่นี่ได้พบหลักฐานที่หนาแน่น ทั้งพิธีกรรมการฝังศพ มีลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา โดยพบทุกเพศ ทุกวัย และพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา โดยภาชนะดินเผาที่ใช้ในการฝังศพที่นี่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีลักษณะคล้ายแคปซูล ที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ใครเห็นเครื่องปั้นดินเผาลักษณะนี้ รู้ได้ทันทีว่านี่คือโบราณวัตถุสำคัญแห่งทุ่งกุลาร้องไห้

นอกจากภาชนะรูปแคปซูลที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบและกำหนดอายุได้ประมาณ 1,700 ปี แต่เมื่อขุดค้นลึกลงไปถึงช่วงเวลาเมื่อประมาณ 3,200 ปี พบภาชนะดินเผาอีกรูปแบบหนึ่งจำนวนมาก เป็นภาชนะรูปทรงคล้ายผลส้ม ซึ่งเป็นภาชนะที่ใช้ในการฝังศพอีกรูปแบบหนึ่ง และนักโบราณคดียังขุดค้นพบวัตถุโบราณอีกมากมาย ในดินแดนทุ่งกุลายังมั่งคั่งไปด้วยเกลือและเหล็ก ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมีค่ามหาศาลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งเกลือที่ใหญ่และมีคุณภาพที่สุดในดินแดนนี้ การขุดค้นพบเรื่องราวในอดีตยังสามารถเชื่อมโยงมาสู่วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งที่นี่ยังคงเป็นแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของโลก

ความยาว 46:07 นาที
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ แหล่งฝังศพ ยุคก่อนประวัติศาสตร์

จำนวนผู้เข้าชม

124

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

27 ก.ค. 2565

วัฒนธรรมทุ่งกุลา วิถีอีสานโบราณ “Thung Kula Culture” Northeastern Ancient Way | รากสุวรรณภูมิ
ผู้ผลิต :
Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง :
ศรีศักร วัลลิโภดม, สุกัญญา เบาเนิด, ศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล และคนอื่นๆ
เรื่องย่อ :

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช หรืออีสานตอนกลาง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ เป็นบริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้" ข้อมูลทางธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน จากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก จนกลายเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ก่อนจะกลายเป็นผืนแผ่นดินแยกแตกระแหง ที่ยังมีเกลือและดินเค็มเป็นหลักฐานที่เชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบัน

ณ พื้นที่แห่งนี้ ได้ขุดค้นพบความเชื่อมโยงของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์มากมาย แหล่งโบราณคดีที่ถูกยกให้เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมทุ่งกุลาคือที่บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ถ้าพูดถึงลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ที่นี่ได้พบหลักฐานที่หนาแน่น ทั้งพิธีกรรมการฝังศพ มีลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา โดยพบทุกเพศ ทุกวัย และพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา โดยภาชนะดินเผาที่ใช้ในการฝังศพที่นี่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีลักษณะคล้ายแคปซูล ที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ใครเห็นเครื่องปั้นดินเผาลักษณะนี้ รู้ได้ทันทีว่านี่คือโบราณวัตถุสำคัญแห่งทุ่งกุลาร้องไห้

นอกจากภาชนะรูปแคปซูลที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบและกำหนดอายุได้ประมาณ 1,700 ปี แต่เมื่อขุดค้นลึกลงไปถึงช่วงเวลาเมื่อประมาณ 3,200 ปี พบภาชนะดินเผาอีกรูปแบบหนึ่งจำนวนมาก เป็นภาชนะรูปทรงคล้ายผลส้ม ซึ่งเป็นภาชนะที่ใช้ในการฝังศพอีกรูปแบบหนึ่ง และนักโบราณคดียังขุดค้นพบวัตถุโบราณอีกมากมาย ในดินแดนทุ่งกุลายังมั่งคั่งไปด้วยเกลือและเหล็ก ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมีค่ามหาศาลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งเกลือที่ใหญ่และมีคุณภาพที่สุดในดินแดนนี้ การขุดค้นพบเรื่องราวในอดีตยังสามารถเชื่อมโยงมาสู่วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งที่นี่ยังคงเป็นแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของโลก



ความยาว (นาที:วินาที) :
46:07
เผยแพร่เมื่อ :
10 กรกฎาคม 2565
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
แหล่งฝังศพ ยุคก่อนประวัติศาสตร์
จำนวนผู้เข้าชม :
124
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
27 ก.ค. 2565


Videos Playlist
image
ซอฟต์พาวเวอร์ อารยธรรมโบราณ | Big Story เรื่องใหญ่ Thai PBS
ผู้ผลิต : Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง : อลงกรณ์ เหมือนดาว, สุรยุทธ นาซิน, ชญากานต์ อนุอัน, พงศ์พัชรา รุ่งเจริญคำนึงผล, พระโสภณพัฒนคุณ, ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์, ประอร ศิลาพันธุ์, บริสุทธิ์ บริพนธ์, ภีร์ เวณุนันทน์, อนุรักษ์ ดีพิมาย, นฤพล หวังธงชัยเจริญ, สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง, ผุสดี รอดเจริญ, กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์, ธนิก เลิศชาญฤทธิ์, ประพิศ พงศ์มาศ, รัศมี ชูทรงเดช, ชวลิต ขาวเขียว, เอนก เหล่าธรรมทัศน์
11 พ.ค. 2024
29:27 (นาที:วินาที)
image
Live : เสวนา “จากรอยลูกปัดสู่สุวรรณภูมิศึกษา: ผ่านลูกปัด จารึกและทอง”
ผู้ผลิต : Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม
วิทยากร/ผู้แสดง : ชวลิต ขาวเขียว, สาโรช รุจิรวรรธน์, บัญชา พงษ์พานิช, อุเทน วงศ์สถิตย์
12 ส.ค. 2022
1:43:56 (นาที:วินาที)
image
ไขปริศนาทวารวดี เมืองโบราณ 1,500 ปี ศรีมโหสถ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.228
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : ฉันทัส เพียรธรรม, ฉัตตริน เพียรธรรม
19 มี.ค. 2024
1:01:13 (นาที:วินาที)
image
ตามรอยพระนางจามเทวี ตอนที่ 3 (จบ) "ทวนพิงคนที สู่หริปุญชยะ" I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.186
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : เพ็ญสุภา สุขคตะ
1 เม.ย. 2023
1:14:19 (นาที:วินาที)
image
ตามรอยพระนางจามเทวี ตอนที่ 2 "จากเมืองพระบาง สู่เมืองสร้อย" I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.184
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : เพ็ญสุภา สุขคตะ
26 มี.ค. 2023
42:27 (นาที:วินาที)