หน้าแรก วิดีโอ "ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route | รากสุวรรณภูมิ

"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route | รากสุวรรณภูมิ

ผู้ผลิต Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง ธนิก เลิศชาญฤทธิ์, ผุสดี รอดเจริญ, ชาตรี ไสยสมบัติ และคนอื่น ๆ
เรื่องย่อ

เรื่องราวของการพบร่องรอยชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 2,500 ปี ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การขุดค้นครั้งนั้นทำให้รู้เส้นทางการเชื่อมต่อของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันแบบชุมชน และช่วงนี้มีการติดต่อกันของผู้คน มีการสัญจรแลกเปลี่ยนสินค้ากันทางน้ำ จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า อดีตลพบุรีเคยเป็นเมืองชายทะเล หลักฐานที่พบจากการขุดค้นใน 2 แหล่งโบราณคดีคือ "แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้" บริเวณที่ขุดพบ ปัจจุบันคือที่ตั้งของวัดพรหมทินใต้ ที่นี่เราพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีพัฒนาการการอยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยเหล็กในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ในสมัยทวารวดี เข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนจะกลับมาเป็นสมัยปัจจุบัน เมื่อราว 100 กว่าปีมานี้ การขุดค้นครั้งนี้พบตราประทับรูปวัว ที่ทำจากดินเผา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอินเดีย แล้ววัฒธรรมต่างถิ่นที่มีอายุนับพัน ๆ ปี นอกจากนี้ยังพบ พระพุทธรูปแกะสลักจากหินสีดำ ประทับยืน พร้อมพระบริวาร บนหลังสัตว์ประหลาดนั้นรูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แต่มีเขา บิดเป็นเกลียว งอเข้าหากันคล้ายเขาโค มีชื่อเรียกว่า "พระพนัสบดี" มีอายุประมาณ 1,300 - 1,200 ปี และอีกหนึ่งแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบหลักฐานไม่ห่างกันมากนัก คือ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับคนในยุคนั้น ทั้งวิถีชีวิตว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมสำหรับคนตาย, เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดจากแก้ว, จากหิน หรือที่ทำขึ้นจากส่วนหน้าอกของเต่าและเปลือกหอย

 

ความพิเศษของแหล่งโบราณบ้านพรหมทินใต้ในแง่เศรษฐกิจ นักโบราณคดีมองว่ามีการติดต่อกับต่างประเทศทั้งในภาคของการนำเข้า เช่น เครื่องประดับและของใช้ ส่วนในภาคการส่งออก จะเป็นพวกแร่และพืชทางการเกษตรในทุกชั้นวัฒนธรรม ที่แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และที่บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี มักพบโลหะที่ถูกแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่ได้เน้นทำเป็นอาวุธ ส่วนใหญ่ทำเครื่องประดับและเสื้อผ้า จึงบ่งบอกถึงสภาพสังคม ที่รักสวยรักงามและวัฒนธรรมในการแต่งกาย ที่สำคัญในเกือบทุกชั้นดิน หรือชั้นวัฒนธรรม มักพบเมล็ดข้าว, เปลือกข้าว และต้นข้าว ซึ่งหมายความว่า ในการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละยุค "ข้าว" คืออาวุธสำคัญในการปฏิวัติสังคมนั่นเอง

ความยาว 46:30 นาที
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ ลพบุรี แหล่งโบราณคดีพรหมทินใต้ เส้นทางการค้า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว

จำนวนผู้เข้าชม

220

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

4 ก.ค. 2565

"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route | รากสุวรรณภูมิ
ผู้ผลิต :
Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง :
ธนิก เลิศชาญฤทธิ์, ผุสดี รอดเจริญ, ชาตรี ไสยสมบัติ และคนอื่น ๆ
เรื่องย่อ :

เรื่องราวของการพบร่องรอยชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 2,500 ปี ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การขุดค้นครั้งนั้นทำให้รู้เส้นทางการเชื่อมต่อของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันแบบชุมชน และช่วงนี้มีการติดต่อกันของผู้คน มีการสัญจรแลกเปลี่ยนสินค้ากันทางน้ำ จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า อดีตลพบุรีเคยเป็นเมืองชายทะเล หลักฐานที่พบจากการขุดค้นใน 2 แหล่งโบราณคดีคือ "แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้" บริเวณที่ขุดพบ ปัจจุบันคือที่ตั้งของวัดพรหมทินใต้ ที่นี่เราพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีพัฒนาการการอยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยเหล็กในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ในสมัยทวารวดี เข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนจะกลับมาเป็นสมัยปัจจุบัน เมื่อราว 100 กว่าปีมานี้ การขุดค้นครั้งนี้พบตราประทับรูปวัว ที่ทำจากดินเผา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอินเดีย แล้ววัฒธรรมต่างถิ่นที่มีอายุนับพัน ๆ ปี นอกจากนี้ยังพบ พระพุทธรูปแกะสลักจากหินสีดำ ประทับยืน พร้อมพระบริวาร บนหลังสัตว์ประหลาดนั้นรูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แต่มีเขา บิดเป็นเกลียว งอเข้าหากันคล้ายเขาโค มีชื่อเรียกว่า "พระพนัสบดี" มีอายุประมาณ 1,300 - 1,200 ปี และอีกหนึ่งแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบหลักฐานไม่ห่างกันมากนัก คือ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับคนในยุคนั้น ทั้งวิถีชีวิตว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมสำหรับคนตาย, เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดจากแก้ว, จากหิน หรือที่ทำขึ้นจากส่วนหน้าอกของเต่าและเปลือกหอย

 

ความพิเศษของแหล่งโบราณบ้านพรหมทินใต้ในแง่เศรษฐกิจ นักโบราณคดีมองว่ามีการติดต่อกับต่างประเทศทั้งในภาคของการนำเข้า เช่น เครื่องประดับและของใช้ ส่วนในภาคการส่งออก จะเป็นพวกแร่และพืชทางการเกษตรในทุกชั้นวัฒนธรรม ที่แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และที่บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี มักพบโลหะที่ถูกแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่ได้เน้นทำเป็นอาวุธ ส่วนใหญ่ทำเครื่องประดับและเสื้อผ้า จึงบ่งบอกถึงสภาพสังคม ที่รักสวยรักงามและวัฒนธรรมในการแต่งกาย ที่สำคัญในเกือบทุกชั้นดิน หรือชั้นวัฒนธรรม มักพบเมล็ดข้าว, เปลือกข้าว และต้นข้าว ซึ่งหมายความว่า ในการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละยุค "ข้าว" คืออาวุธสำคัญในการปฏิวัติสังคมนั่นเอง



ความยาว (นาที:วินาที) :
46:30
เผยแพร่เมื่อ :
3 กรกฎาคม 2565
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
ลพบุรี แหล่งโบราณคดีพรหมทินใต้ เส้นทางการค้า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว
จำนวนผู้เข้าชม :
220
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
4 ก.ค. 2565


Videos Playlist
image
ซอฟต์พาวเวอร์ อารยธรรมโบราณ | Big Story เรื่องใหญ่ Thai PBS
ผู้ผลิต : Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง : อลงกรณ์ เหมือนดาว, สุรยุทธ นาซิน, ชญากานต์ อนุอัน, พงศ์พัชรา รุ่งเจริญคำนึงผล, พระโสภณพัฒนคุณ, ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์, ประอร ศิลาพันธุ์, บริสุทธิ์ บริพนธ์, ภีร์ เวณุนันทน์, อนุรักษ์ ดีพิมาย, นฤพล หวังธงชัยเจริญ, สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง, ผุสดี รอดเจริญ, กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์, ธนิก เลิศชาญฤทธิ์, ประพิศ พงศ์มาศ, รัศมี ชูทรงเดช, ชวลิต ขาวเขียว, เอนก เหล่าธรรมทัศน์
11 พ.ค. 2024
29:27 (นาที:วินาที)
image
Live : เสวนา “จากรอยลูกปัดสู่สุวรรณภูมิศึกษา: ผ่านลูกปัด จารึกและทอง”
ผู้ผลิต : Silpawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม
วิทยากร/ผู้แสดง : ชวลิต ขาวเขียว, สาโรช รุจิรวรรธน์, บัญชา พงษ์พานิช, อุเทน วงศ์สถิตย์
12 ส.ค. 2022
1:43:56 (นาที:วินาที)
image
ไขปริศนาทวารวดี เมืองโบราณ 1,500 ปี ศรีมโหสถ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.228
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : ฉันทัส เพียรธรรม, ฉัตตริน เพียรธรรม
19 มี.ค. 2024
1:01:13 (นาที:วินาที)
image
ตามรอยพระนางจามเทวี ตอนที่ 3 (จบ) "ทวนพิงคนที สู่หริปุญชยะ" I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.186
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : เพ็ญสุภา สุขคตะ
1 เม.ย. 2023
1:14:19 (นาที:วินาที)
image
ตามรอยพระนางจามเทวี ตอนที่ 2 "จากเมืองพระบาง สู่เมืองสร้อย" I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.184
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : เพ็ญสุภา สุขคตะ
26 มี.ค. 2023
42:27 (นาที:วินาที)