หน้าแรก Current Stories พุทธศิลป์ในอัฟกานิสถาน และปัญหาที่น่ากังวลจากตาลีบัน

พุทธศิลป์ในอัฟกานิสถาน และปัญหาที่น่ากังวลจากตาลีบัน

พุทธศิลป์ในอัฟกานิสถาน และปัญหาที่น่ากังวลจากตาลีบัน

เผยแพร่เมื่อ 25 ก.ย. 2565
พิมพ์

โดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

283

ในแวดวงโบราณคดีต่างเป็นกังวลและห่วงใยเป็นอย่างมากต่อการยึดกรุงคาบูลของพวกตาลีบัน เพราะเมืองแห่งนี้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่เต็มไปด้วยศิลปวัตถุอันล้ำค่าจำนวนถึง 8 แสนชิ้น และพื้นที่บางส่วนของอัฟกานิสถานยังเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรคันธาระ ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกเริ่มที่สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกอีกด้วย 

 

ดังนั้น การเข้ายึดนี้จึงเสี่ยงที่ศิลปวัตถุและโบราณสถานต่างๆ ถูกทำลายและถูกโจรกรรม แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาที่ตาลีบันบุกเข้าเมืองต่างๆ จะไม่มีการทำลายวัตถุในพิพิธภัณฑ์ แต่ก็ไม่มีใครไว้ใจ เพราะมีตัวอย่างจากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่พระพุทธรูปแห่งบามิยันถูกระเบิดทำลายจากกลุ่มตาลีบัน 

ผมยังไม่เคยมีโอกาสเข้าไปอัฟกานิสถาน เพราะอย่างที่ทราบกัน มีความเสี่ยงอยู่มาก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็เห็นจากข่าวดราม่ากันไปแล้ว แต่พื้นที่ของอาณาจักรคันธาระที่เคยไปสัมผัสคือที่อยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ซึ่งในช่วงที่ไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนนั้น บางจุดต้องมีทหารคุ้มกัน เพราะพวกตาลีบันเคยเข้ามายึดเป็นที่มั่น แม้ว่าในช่วงที่ไปนั้นจะสงบแล้วก็ตาม แต่ทหารคุ้มกันก็บอกว่าเราไม่อาจไว้ใจใครได้ ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าเมื่อสถานการณ์ในอัฟกานิสถานดีขึ้นจะได้มีโอกาสไปสักครั้ง แต่ดูแล้วคงยากและใช้เวลาอีกนาน

 

 

ทำไมศิลปะพุทธศาสนาแรกเริ่มจึงถือกำเนิดขึ้นในพื้นที่อัฟกานิสถาน-ปากีสถาน เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งพระองค์ได้กรีฑาทัพเข้ามายังดินแดนนี้เมื่อ 327 ก่อนคริสตกาล คราวนี้เวลาที่จะเดินทางเข้าอินเดียจำต้องเดินผ่านช่องเขาไคเบอร์ (Khyber Pass) ซึ่งเป็นช่องเขาหลักที่ใช้กัน โดยตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถาน คือ ระหว่างกรุงคาบูลและกรุงเปชวาร์ และช่องเขานี้ก็เป็นของเทือกเขาฮินดูกูช และมีแม่น้ำสินธุเป็นแม่น้ำสำคัญ จึงกลายมาเป็นชื่อของประเทศอินเดียในที่สุด

นอกเหนือไปจากความรู้สึกที่อยากเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แล้ว แรงจูงใจที่ทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงต้องการยึดครองอินเดียอีกส่วนหนึ่งคือ การเข้าควบคุมเส้นทางการค้าสายไหม (Silk Roads) ที่คึกคักระหว่างอินเดีย จีน เปอร์เซีย และชนเผ่าเร่ร่อน ซึ่งสินค้าที่พวกกรีกและอียิปต์รับไปก็มาจากเส้นนี้ ทำให้ในเขตเมืองคาบูล และเมืองพักห์แมน (ติดกับคาบูล) หรือที่พวกกรีกเรียกว่า ‘บากรัม’ (Begram) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของราชวงศ์กุษาณะ เต็มไปด้วยโบราณสถานสมัยคันธาระ 

เช่นเดียวกันกับทางเหนือของกรุงคาบูล เมื่อข้ามภูเขาฮินดูกูชไปจะเป็นเขตเมืองบักห์ลาน (Baghlan) ซึ่งมีเมืองโบราณสำคัญคือ ไอคานุม (Ai Khanum) ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของนครรัฐแบกเตรีย เจริญขึ้นมาได้จากเส้นทางการค้าสายไหมที่ลงมาจากทางเหนือที่เชื่อมต่อกับจีนทางมณฑลซินเจียง โดยมีปลายทางที่กรุงซีอาน บริเวณนี้จึงพบศิลปวัตถุล้ำค่ามากมาย และยังเป็นเหมืองทองคำ ทับทิม และอื่นๆ อีกมาก 

 

รายการอ้างอิง

ไม่มี

ในแวดวงโบราณคดีต่างเป็นกังวลและห่วงใยเป็นอย่างมากต่อการยึดกรุงคาบูลของพวกตาลีบัน เพราะเมืองแห่งนี้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่เต็มไปด้วยศิลปวัตถุอันล้ำค่าจำนวนถึง 8 แสนชิ้น และพื้นที่บางส่วนของอัฟกานิสถานยังเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรคันธาระ ซึ่งเป็นอาณาจักรแรกเริ่มที่สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกอีกด้วย 

 

ดังนั้น การเข้ายึดนี้จึงเสี่ยงที่ศิลปวัตถุและโบราณสถานต่างๆ ถูกทำลายและถูกโจรกรรม แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาที่ตาลีบันบุกเข้าเมืองต่างๆ จะไม่มีการทำลายวัตถุในพิพิธภัณฑ์ แต่ก็ไม่มีใครไว้ใจ เพราะมีตัวอย่างจากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่พระพุทธรูปแห่งบามิยันถูกระเบิดทำลายจากกลุ่มตาลีบัน 

ผมยังไม่เคยมีโอกาสเข้าไปอัฟกานิสถาน เพราะอย่างที่ทราบกัน มีความเสี่ยงอยู่มาก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็เห็นจากข่าวดราม่ากันไปแล้ว แต่พื้นที่ของอาณาจักรคันธาระที่เคยไปสัมผัสคือที่อยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ซึ่งในช่วงที่ไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนนั้น บางจุดต้องมีทหารคุ้มกัน เพราะพวกตาลีบันเคยเข้ามายึดเป็นที่มั่น แม้ว่าในช่วงที่ไปนั้นจะสงบแล้วก็ตาม แต่ทหารคุ้มกันก็บอกว่าเราไม่อาจไว้ใจใครได้ ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าเมื่อสถานการณ์ในอัฟกานิสถานดีขึ้นจะได้มีโอกาสไปสักครั้ง แต่ดูแล้วคงยากและใช้เวลาอีกนาน

 

 

ทำไมศิลปะพุทธศาสนาแรกเริ่มจึงถือกำเนิดขึ้นในพื้นที่อัฟกานิสถาน-ปากีสถาน เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งพระองค์ได้กรีฑาทัพเข้ามายังดินแดนนี้เมื่อ 327 ก่อนคริสตกาล คราวนี้เวลาที่จะเดินทางเข้าอินเดียจำต้องเดินผ่านช่องเขาไคเบอร์ (Khyber Pass) ซึ่งเป็นช่องเขาหลักที่ใช้กัน โดยตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถาน คือ ระหว่างกรุงคาบูลและกรุงเปชวาร์ และช่องเขานี้ก็เป็นของเทือกเขาฮินดูกูช และมีแม่น้ำสินธุเป็นแม่น้ำสำคัญ จึงกลายมาเป็นชื่อของประเทศอินเดียในที่สุด

นอกเหนือไปจากความรู้สึกที่อยากเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แล้ว แรงจูงใจที่ทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงต้องการยึดครองอินเดียอีกส่วนหนึ่งคือ การเข้าควบคุมเส้นทางการค้าสายไหม (Silk Roads) ที่คึกคักระหว่างอินเดีย จีน เปอร์เซีย และชนเผ่าเร่ร่อน ซึ่งสินค้าที่พวกกรีกและอียิปต์รับไปก็มาจากเส้นนี้ ทำให้ในเขตเมืองคาบูล และเมืองพักห์แมน (ติดกับคาบูล) หรือที่พวกกรีกเรียกว่า ‘บากรัม’ (Begram) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของราชวงศ์กุษาณะ เต็มไปด้วยโบราณสถานสมัยคันธาระ 

เช่นเดียวกันกับทางเหนือของกรุงคาบูล เมื่อข้ามภูเขาฮินดูกูชไปจะเป็นเขตเมืองบักห์ลาน (Baghlan) ซึ่งมีเมืองโบราณสำคัญคือ ไอคานุม (Ai Khanum) ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของนครรัฐแบกเตรีย เจริญขึ้นมาได้จากเส้นทางการค้าสายไหมที่ลงมาจากทางเหนือที่เชื่อมต่อกับจีนทางมณฑลซินเจียง โดยมีปลายทางที่กรุงซีอาน บริเวณนี้จึงพบศิลปวัตถุล้ำค่ามากมาย และยังเป็นเหมืองทองคำ ทับทิม และอื่นๆ อีกมาก 

 

รายการอ้างอิง

ไม่มี

เรื่องแนะนำ

จำนวนผู้เข้าชม

283

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

25 ก.ย. 2565