หน้าแรก บทความ 'สุวรรณภูมิ' ในนิทาน

'สุวรรณภูมิ' ในนิทาน

'สุวรรณภูมิ' ในนิทาน

ชื่อผู้แต่ง กุสุมา รักษมณี
วารสาร/นิตยสาร อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
ปี 1988
ปีที่ 11
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 73-80
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

ฉากในนิทานมักเป็นเมืองที่อยู่ไกลโพ้นซึ่งทำให้สามารถสร้างความแปลกใหม่ในเรื่องเล่าได้ การตั้งชื่อเมืองสมมติในนิทานอาจใช้ชื่อมงคลเพื่อบ่งบอกควารุ่งเรือง และมั่งคั่งของเมืองนั้น เช่น สุวรรณภูมินคร สุวรรณมหานคร ฯลฯ หรือนิทานไทยหลายเรื่องมักใช้ฉากเป็นเมืองต่างแดน โดยเฉพาะในอินเดียหรือชมพูทวีป เช่น พาราณสี สาวัตถี ตักสิลา ฯลฯ หรือในอินเดียเองก็พบการใช้เมืองต่างถิ่นเป็นฉาก เป็นต้นว่าอินเดียเหนือใช้ฉากเป็นเมืองของอินเดียใต้ อินเดียใต้ใช้ฉากเป็นเมืองของอินเดียภาคกลาง

 

เมืองไกลโพ้นในนิทานอินเดีย มีดินแดนหนึ่งที่มีความมั่งคั่งอยู่ในเส้นทางการค้าทางเรือ นั่นคือ สุวรรณภูมิ หรือ แผ่นดินทอง

 

สุวรรณภูมิที่ปรากฏในนิทานเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ เป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินเรือ โดยปรากฏในคัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์หรืออาจเรียกว่าเป็นพงศาวดารของลังกา ซึ่งมักถูกใช้ศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีถึงการมีอยู่ของดินแดนนี้ ควบคู่ไปกับศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช 

 

ขุนศิริวัฒนอาณาทร ได้ศึกษาเรื่องสุวรรณภูมิจากคัมภีร์ดังกล่าว และยืนยันไว้ว่าสุวรรณภูมิมีจริง ไม่ใช่ดินแดนในจินตนาการ และแม้ว่าจะถูกใช้เป็นฉากในนิทานชาดก แต่ก็มีต้นเค้ามาจากประสบการณ์จริงด้วยเช่นกัน 

 

สุวัณณภูมิ (สุวรรณภูมิ) ปรากฏในนิทานชาดก เรื่องสุสโสนที (ลำดับที่ 360) เรื่องมหาชนก (ลำดับที่ 539) และเรื่องสังขะ (ลำดับที่ 442) ในชาดกทั้งสามเรื่องนี้ สุวรรณภูมิเป็นดินแดนจุดหมายปลายทางของตัวละครเอก ที่ต้องฝ่าฟันคลื่นลมในมหาสมุทรไป เพื่อค้าขาย 

 

สุวรรณทวีป และสุวรรณภูมิ ปรากฏในนิทานสันสกฤตเรื่อง กถาสริตสาคร ซึ่งมีตัวละครเดินทางไปค้าขายและได้กำไรอย่างงาม และยังมีตัวละครที่เดินทางด้วยเกวียนไปยังสุวรรณทวีปด้วย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าดินแดนนี้ไม่น่าจะเป็นเกาะ แต่เป็นดินแดนที่มีน้ำสองข้างเหมือนดั่งชมพูทวีป 

 

สุวรรณภูมิยังปรากฏในนิทานของปาชา ที่กล่าวถึงเรื่อราวของขุนนางเตอร์กิชด้วย นิทานเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลจากกาหลิบในอาหรับราตรี ในนิทานของปาชามีส่วนที่อธิบายถึงภูมิศาสตร์อยู่ด้วย โดยเรียกว่า สุฟฟรา เป็นดินแดนไม่ใช่เกาะ มีอาณาเขตติดมลายูและลาว เป็นเมืองจุดหมายปลายทางของการเดินทาง มีความมั่งคั่ง ทั้งยังกล่าวถึงชาวเมืองที่แต่กายด้วยผ้าแพรและต่วนจากจีน มีเครื่องประดับอัญมณีเกลื่อนกลาดในนคร มีชายหนุ่มรูปงามจากสุฟฟราชื่อ อโศตะ สามารถกล่าวสุนทรพจน์ได้น่าประทับใจทำให้เจ้าหญิงเรื่องเป็นคู่ครอง และมีการจารจดบันทึกได้ด้วยตัวทอง

หลักฐานสำคัญ

นิทานชาดก เรื่องสุสโสนที เรื่องมหาชนก และเรื่องสังขะ

นิทานสันสกฤต เรื่องกถาสริตสาคร

นิทานปาชา

ห้องสมุดแนะนำ

ฐานข้อมูลวารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

สุวรรณภูมิ นิทาน สันสกฤต สุวัณณภูมิ สุวรรณทวีป สุฟฟรา ชาดก ปาชา สุสโสนที มหาชนก สังขะ กถาสริตสาคร

ยุคสมัย

สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น

จำนวนผู้เข้าชม

53

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

16 เม.ย. 2567

'สุวรรณภูมิ' ในนิทาน

  • 'สุวรรณภูมิ' ในนิทาน
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    กุสุมา รักษมณี

    ชื่อบทความ :
    'สุวรรณภูมิ' ในนิทาน

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

    เดือน
    เดือน :
    กรกฎาคม-ธันวาคม

    ปี :
    1988

    ปีที่ :
    11

    ฉบับที่ :
    2

    หน้าที่ :
    73-80

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    ฉากในนิทานมักเป็นเมืองที่อยู่ไกลโพ้นซึ่งทำให้สามารถสร้างความแปลกใหม่ในเรื่องเล่าได้ การตั้งชื่อเมืองสมมติในนิทานอาจใช้ชื่อมงคลเพื่อบ่งบอกควารุ่งเรือง และมั่งคั่งของเมืองนั้น เช่น สุวรรณภูมินคร สุวรรณมหานคร ฯลฯ หรือนิทานไทยหลายเรื่องมักใช้ฉากเป็นเมืองต่างแดน โดยเฉพาะในอินเดียหรือชมพูทวีป เช่น พาราณสี สาวัตถี ตักสิลา ฯลฯ หรือในอินเดียเองก็พบการใช้เมืองต่างถิ่นเป็นฉาก เป็นต้นว่าอินเดียเหนือใช้ฉากเป็นเมืองของอินเดียใต้ อินเดียใต้ใช้ฉากเป็นเมืองของอินเดียภาคกลาง

     

    เมืองไกลโพ้นในนิทานอินเดีย มีดินแดนหนึ่งที่มีความมั่งคั่งอยู่ในเส้นทางการค้าทางเรือ นั่นคือ สุวรรณภูมิ หรือ แผ่นดินทอง

     

    สุวรรณภูมิที่ปรากฏในนิทานเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ เป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินเรือ โดยปรากฏในคัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์หรืออาจเรียกว่าเป็นพงศาวดารของลังกา ซึ่งมักถูกใช้ศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีถึงการมีอยู่ของดินแดนนี้ ควบคู่ไปกับศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช 

     

    ขุนศิริวัฒนอาณาทร ได้ศึกษาเรื่องสุวรรณภูมิจากคัมภีร์ดังกล่าว และยืนยันไว้ว่าสุวรรณภูมิมีจริง ไม่ใช่ดินแดนในจินตนาการ และแม้ว่าจะถูกใช้เป็นฉากในนิทานชาดก แต่ก็มีต้นเค้ามาจากประสบการณ์จริงด้วยเช่นกัน 

     

    สุวัณณภูมิ (สุวรรณภูมิ) ปรากฏในนิทานชาดก เรื่องสุสโสนที (ลำดับที่ 360) เรื่องมหาชนก (ลำดับที่ 539) และเรื่องสังขะ (ลำดับที่ 442) ในชาดกทั้งสามเรื่องนี้ สุวรรณภูมิเป็นดินแดนจุดหมายปลายทางของตัวละครเอก ที่ต้องฝ่าฟันคลื่นลมในมหาสมุทรไป เพื่อค้าขาย 

     

    สุวรรณทวีป และสุวรรณภูมิ ปรากฏในนิทานสันสกฤตเรื่อง กถาสริตสาคร ซึ่งมีตัวละครเดินทางไปค้าขายและได้กำไรอย่างงาม และยังมีตัวละครที่เดินทางด้วยเกวียนไปยังสุวรรณทวีปด้วย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าดินแดนนี้ไม่น่าจะเป็นเกาะ แต่เป็นดินแดนที่มีน้ำสองข้างเหมือนดั่งชมพูทวีป 

     

    สุวรรณภูมิยังปรากฏในนิทานของปาชา ที่กล่าวถึงเรื่อราวของขุนนางเตอร์กิชด้วย นิทานเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลจากกาหลิบในอาหรับราตรี ในนิทานของปาชามีส่วนที่อธิบายถึงภูมิศาสตร์อยู่ด้วย โดยเรียกว่า สุฟฟรา เป็นดินแดนไม่ใช่เกาะ มีอาณาเขตติดมลายูและลาว เป็นเมืองจุดหมายปลายทางของการเดินทาง มีความมั่งคั่ง ทั้งยังกล่าวถึงชาวเมืองที่แต่กายด้วยผ้าแพรและต่วนจากจีน มีเครื่องประดับอัญมณีเกลื่อนกลาดในนคร มีชายหนุ่มรูปงามจากสุฟฟราชื่อ อโศตะ สามารถกล่าวสุนทรพจน์ได้น่าประทับใจทำให้เจ้าหญิงเรื่องเป็นคู่ครอง และมีการจารจดบันทึกได้ด้วยตัวทอง

    หลักฐานสำคัญ

    นิทานชาดก เรื่องสุสโสนที เรื่องมหาชนก และเรื่องสังขะ

    นิทานสันสกฤต เรื่องกถาสริตสาคร

    นิทานปาชา


    ห้องสมุดแนะนำ :
    ฐานข้อมูลวารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    สุวรรณภูมิ นิทาน สันสกฤต สุวัณณภูมิ สุวรรณทวีป สุฟฟรา ชาดก ปาชา สุสโสนที มหาชนก สังขะ กถาสริตสาคร

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 16 เม.ย. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 53