หน้าแรก บทความ การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ชื่อผู้แต่ง พระครูโสภณวีรานุวัตร และคณะ
วารสาร/นิตยสาร วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์
เดือน มกราคม - มิถุนายน
ปี 2564
ปีที่ 8
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 1
ภาษา ไทย
หัวเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

เนื้อหาโดยย่อ

พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายเขาสู่ดินแดนทวารวดี (อู่ทอง) ตามเอกสารปัจจุบันเชื่อได้ว่า เข้ามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 แต่ตามหลักฐานโบราณคดี ทั้งประติมากรรม สถาปตยกรรมและจารึกพบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-10 ทั้งทางบกและทางทะเลนั้น พระพุทธศาสนาเมื่อเข้ามาแล้วได้หยั่งรากลึกลงในจิตใจของประชาชนที่นับถืออย่างมั่นคงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพิธีกรรมอันดีงาม ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันตรงบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งรุ่งเรืองมากอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 มีเอกลักษณ์ด้านศิลปะเป็นของตนเองในชื่อ “ศิลปะทวารวดี” มีศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้้าเจ้าพระยา แม่น้้าท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายไปสู่เมืองอู่ทองและอื่น ๆ นั้น ได้ทิ้งร่องรอยไว้ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เช่น ซากสถูป ธรรมจักรศิลา พระเจดีย์ พระพิมพ์ พระพุทธรูป ตลอดจนหลักฐานจารึกเกี่ยวกับหลักธรรมใพระพุทธศาสนา ที่สำคัญและเป็นที่แพร่หลายในสมัยอู่ทอง จารึกคาถา เย ธมฺมา หัวใจพระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท เป็นอาทิ ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันร่องรอยต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ศรัทธา ปัญญา ตลอดจนความเข้าใจในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธได้เป็นอย่างดี
 
 

 

หลักฐานสำคัญ

เมืองอู่ทอง น่าจะมีบทบาทเป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางของรัฐทวารวดีในยุคแรก รวมพุทธศตวรรษที่ 9-13 (ผาสุข อินทราวุธ, 2542) สำหรับเมืองอู่ทองนั้นนักโบราณคดีได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ตั้งแต่สมัยยุคเหล็กตอนปลายของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 3-5) (ชิน อยู่ดี, 2509: 43-50) และมีบทบาทเด่นชัดมากในสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และที่เมืองอู่ทองนี้เอง ที่พ่อค้าชาวพุทธจากลุ่มแม่น้้ากฤษณา ได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และตั้งถิ่นฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้น้าเอาพุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียใต้ ที่อยู่ใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ 4-8) และสืบต่อด้วยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษที่ 8-10) ซึ่งมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเนื่องในศาสนาอยู่ที่เมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนโกณฑะเข้ามาเผยแพร่ให้ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทอง ดังได้พบประติมากรรม ดินเผารูปพุทธสาวก 3 องค์ ถือบาตร ห่มจีวร ห่มคลุม ตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี และประติมากรรมปูนปั้นรูปพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งประทับนั่งขัดพระบาทหลวมๆ ตามแบบศิลปะแบบอมราวดี (Boisselier, J. Murthy, K. K. 1977: 1-10)

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

อู่ทอง ทวารวดี พุทธศิลปะ

ยุคสมัย

โบราณ

จำนวนผู้เข้าชม

42

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

31 ม.ค. 2567

การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

  • การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    พระครูโสภณวีรานุวัตร และคณะ

    ชื่อบทความ :
    การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม - มิถุนายน

    ปี :
    2564

    ปีที่ :
    8

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    1

    ภาษา :
    ไทย

    หัวเรื่อง :
    การศึกษาวิเคราะห์เมืองอู่ทองในฐานะประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    เนื้อหาโดยย่อ
    พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายเขาสู่ดินแดนทวารวดี (อู่ทอง) ตามเอกสารปัจจุบันเชื่อได้ว่า เข้ามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 แต่ตามหลักฐานโบราณคดี ทั้งประติมากรรม สถาปตยกรรมและจารึกพบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-10 ทั้งทางบกและทางทะเลนั้น พระพุทธศาสนาเมื่อเข้ามาแล้วได้หยั่งรากลึกลงในจิตใจของประชาชนที่นับถืออย่างมั่นคงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพิธีกรรมอันดีงาม ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันตรงบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งรุ่งเรืองมากอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 มีเอกลักษณ์ด้านศิลปะเป็นของตนเองในชื่อ “ศิลปะทวารวดี” มีศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้้าเจ้าพระยา แม่น้้าท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายไปสู่เมืองอู่ทองและอื่น ๆ นั้น ได้ทิ้งร่องรอยไว้ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เช่น ซากสถูป ธรรมจักรศิลา พระเจดีย์ พระพิมพ์ พระพุทธรูป ตลอดจนหลักฐานจารึกเกี่ยวกับหลักธรรมใพระพุทธศาสนา ที่สำคัญและเป็นที่แพร่หลายในสมัยอู่ทอง จารึกคาถา เย ธมฺมา หัวใจพระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท เป็นอาทิ ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันร่องรอยต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ศรัทธา ปัญญา ตลอดจนความเข้าใจในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธได้เป็นอย่างดี
     
     

     

    หลักฐานสำคัญ

    เมืองอู่ทอง น่าจะมีบทบาทเป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางของรัฐทวารวดีในยุคแรก รวมพุทธศตวรรษที่ 9-13 (ผาสุข อินทราวุธ, 2542) สำหรับเมืองอู่ทองนั้นนักโบราณคดีได้พบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ตั้งแต่สมัยยุคเหล็กตอนปลายของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 3-5) (ชิน อยู่ดี, 2509: 43-50) และมีบทบาทเด่นชัดมากในสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และที่เมืองอู่ทองนี้เอง ที่พ่อค้าชาวพุทธจากลุ่มแม่น้้ากฤษณา ได้เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และตั้งถิ่นฐานในช่วงสมัยอินโด-โรมัน และได้น้าเอาพุทธศาสนาจากศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียใต้ ที่อยู่ใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะ (พุทธศตวรรษที่ 4-8) และสืบต่อด้วยราชวงศ์อิกษวากุ (พุทธศตวรรษที่ 8-10) ซึ่งมีศูนย์กลางงานศิลปกรรมเนื่องในศาสนาอยู่ที่เมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนโกณฑะเข้ามาเผยแพร่ให้ชุมชนโบราณที่เมืองอู่ทอง ดังได้พบประติมากรรม ดินเผารูปพุทธสาวก 3 องค์ ถือบาตร ห่มจีวร ห่มคลุม ตามแบบนิยมของศิลปะแบบอมราวดี และประติมากรรมปูนปั้นรูปพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งประทับนั่งขัดพระบาทหลวมๆ ตามแบบศิลปะแบบอมราวดี (Boisselier, J. Murthy, K. K. 1977: 1-10)


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    โบราณ

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    อู่ทอง ทวารวดี พุทธศิลปะ

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 31 ม.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 42