หน้าแรก แหล่งโบราณคดี แหล่งเรือจมเบลิตุง (Belitung Shipwreck site)

แหล่งเรือจมเบลิตุง (Belitung Shipwreck site)

ที่ตั้ง ทางเหนือของเกาะเบลิตุง
พิกัด -2.727 N, 107.604 E
อายุสมัย ปี ค.ศ. 830
แหล่งน้ำสำคัญ
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ การค้าทางไกล ราชวงศ์ถัง จังหวัดปราจีนบุรี การค้าทางทะเล จีน แหล่งเรือจม Shipwreck การเดินเรือ อาหรับ เรือสินค้า ประเทศโอมาน
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

33

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

27 ก.พ. 2566

แหล่งเรือจมเบลิตุง (Belitung Shipwreck site)

team
  • เกาะเบลิตุง บริเวณที่พบเรือจม
ชื่อแหล่ง : แหล่งเรือจมเบลิตุง (Belitung Shipwreck site)
ที่ตั้ง : ทางเหนือของเกาะเบลิตุง
พิกัด : -2.727 N, 107.604 E
อายุสมัย : ปี ค.ศ. 830
แหล่งน้ำสำคัญ :
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : การค้าทางไกล ราชวงศ์ถัง จังหวัดปราจีนบุรี การค้าทางทะเล จีน แหล่งเรือจม Shipwreck การเดินเรือ อาหรับ เรือสินค้า ประเทศโอมาน
ยุคสมัย : สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ศรีวิชัย
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 27 ก.พ. 2566

- ค.ศ.1998 (พ.ศ.2541): ชาวประมงพบกลุ่มเครื่องถ้วยที่กระจายอยู่ก้นทะเล

 

- ค.ศ.1999 (พ.ศ.2542): ได้รับการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีโดยองค์กรเอกชนของเยอรมันภายใต้การดูแลของประเทศอินโดนีเซีย

เรือเบลิตุงเป็นเรือรูปแบบอาหรับที่สร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เดินทางค้าขายระหว่างประเทศโอมานและประเทศจีนผ่าน มหาสมุทรอินเดีย ช่องแคบมะละกา คาบสมุทรมาเลเซีย เกาะสุมาตรา เวียดนาม และทะเลจีนใต้ จากการขุดค้นเรือเบลิตุงพบภาชนะดินเผาที่นำกลับมาจากจีนเต็มเรือถึง 60,000 ชิ้น โดยเป็นเครื่องถ้วยของเตาฉางซาเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพบโบราณวัตถุชนิดอื่นๆในสมัยราชวงศ์ถัง โดยถูกเรียกว่า "Tang Treasure" มีรูปแบบการต่อเรือด้วยการเย็บไม้แบบกากบาทร่วมกับเชือก ซึ่งเป็นลักษณะการต่อเรือในแถบอาหรับโบราณ

 

 

ปัจจุบันมีการจัดแสดงเรือเบลิตุงที่ Asian Civilisations Museum ประเทศสิงคโปร์

 
 

วันวิสาข์ ธรรมานนท์. "หลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางการค้ากับเอเชียตะวันตกก่อนพุทธศตวรรษที่ 16". วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2555.

 

Unesco. The Belitung Shipwreck. เข้าถึงได้จาก https://en.unesco.org/silkroad/silk-road-themes/underwater-heritage/belitung-shipwreck

 

Michael Flecker. "A ninth-century AD. Arab of Infian shipwreck in Indonesia: first evidence for direct trade with China" in Journal of the Royal Asiatic Society, THIRD SERIES, Vol. 25, No. 4 (OCTOBER 2015), pp. 579-624.