หน้าแรก แหล่งโบราณคดี วัดชมชื่น

วัดชมชื่น

ที่ตั้ง ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
พิกัด 17.428 N, 99.806 E
อายุสมัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 801 ถึง 2100
แหล่งน้ำสำคัญ
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ หลุมฝังศพ site museum ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ราชวงศ์หมิง จังหวัดสุโขทัย ราชวงศ์ชิง หินอาเกต
แกลเลอรี

จำนวนผู้เข้าชม

36

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

25 ก.พ. 2566

วัดชมชื่น

team
  • รากฐานอาคารที่ถูกใช้งานก่อนสมัยสุโขทัย (จำลอง)
ชื่อแหล่ง : วัดชมชื่น
ที่ตั้ง : ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
พิกัด : 17.428 N, 99.806 E
อายุสมัย : ระหว่าง ปี พ.ศ. 801 ถึง 2100
แหล่งน้ำสำคัญ :
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ : หลุมฝังศพ site museum ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ราชวงศ์หมิง จังหวัดสุโขทัย ราชวงศ์ชิง หินอาเกต
ยุคสมัย : อยุธยา สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ทวารวดี เขมรโบราณ สุโขทัย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 25 ก.พ. 2566

- ค.ศ.1935 (พ.ศ.2478): กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดจำนวนโบราณสถานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 หน้า3701 โดยประกาศเพียงชื่อแต่ยังไม่ได้รับการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน 

 

- ค.ศ.1969-1970 (พ.ศ.2512-2513): หน่วยศิลปากรที่ 3 (ในขณะนั้น) ได้เข้าขุดแต่งบูรณะโบราณสถานวัดชมชื่น

 

- ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531): กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 57 ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2531 และในปีเดียวกันนั้น นักวิชาการชาวออสเตรเลียได้สำรวจพบชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์บริเวณริมตลิ่งด้านหน้าวัดชมชื่น และรายงานถึงเจ้าหน้าที่โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จึงเกิดการขุดกู้โครงกระดูกจำนวน 1 โครง

 

- ค.ศ.1993-1994 (พ.ศ.2536-2537): ได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร นำโดยนายสถาพร เที่ยงธรรม โดยพบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งโครงกระดูกมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น และการก่อสร้างอาคารซ้อนทับกันเป็นลำดับต่อเนื่องจนถึงสมัยสุโขทัย

 

- ค.ศ.1995-1997 (พ.ศ.2538-2540): ได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร นำโดยนายธาดา สังข์ทอง พร้อมทั้งพัฒนาหลุมขุดค้นเพื่อเป็นหลุมขุดค้นจัดแสดงกลางแจ้ง (Site museum)

 

 

หลุมขุดค้นวัดชมชื่นเป็นหลุมขุดค้นที่แสดงการอยู่อาศัยของมนุษย์อย่างต่อเนื่องภายในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 สมัยการใช้งานพื้นที่

 

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ 9) พบร่องรอยการใช้งานลักษณะเป็นชุมชนขนาดเล็ก ดำรงชีพด้วยการหาของป่าล่าสัตว์

 

2. สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ร่วมสมัยกับทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16) พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 15 โครง หันศีรษะไปทางทิศตะวันตก ลักษณะเป็นการตั้งถิ่นฐานถาวรและมีขนาดชุมชนที่ใหญ่ขึ้น และพบการติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงรวมถึงชุมชนอื่นภายนอก จากการพบหลักฐานทางโบราณคดีประเภท ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินคาร์เนเลียน และลูกปัดอาเกต

 

3. สมัยเขมรโบราณถึงสมัยสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18) พบหลักฐานเป็นฐานอาคารทำจากอิฐจำนวน 3 หลัง ถูกใช้งานเป็นศาสนสถาน และมีร่องรอยการถูกน้ำท่วม ถูกสันนิษฐานว่าในระยะนี้เป็นช่วงที่มีการสร้างบ้านเมือง และมีศูนย์กลางชุมชนอยู่ในเขตเมืองเชลียง 

 

4. สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-21) พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมากที่มาจากแหล่งเตาหลายแหล่งทั้งจากภายในพื้นที่ของประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น ภาชนะดินเผาจากเตาภายในจังหวัดสุโขทัย เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง 

 

5. สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พบโบราณวัตถุน้อยลง โดยพบเป็นเศษกระเบื้องและเศษภาชนะดินเผาเนื้อกระเบื้องประเภทเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง

เปิดให้เข้าชมหลุมขุดค้นจัดแสดงกลางแจ้ง (Site museum) ภายในพื้นที่ของวัดชมชื่น อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). "ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย อาคารอนุรักษ์หลุมขุดค้นวัดชมชื่น" เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/451

 

อุทยานประวัติศาสตรืศรีสัชนาลัย. "หลุมขุดค้นวัดชมชื่น". เข้าถึงได้จากhttps://www.facebook.com/335639723247529/posts/523068637837969/